ประวัติกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรมองค์กร |
หน้าที่และอำนาจ |
ภารกิจ |
ยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติราชการ |
โครงสร้างองค์กร |
ทำเนียบบุคลากร |
ผู้บริหาร |
ราชการบริหารส่วนกลาง |
สำนักงานเลขานุการกรม |
กองความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
กองจัดการเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
กองเทคโนโลยีการประกอบกิจการปิโตรเลียม |
กองบริหารกิจการปิโตรเลียมระหว่างประเทศ |
กองบริหารสัญญาและสัมปทานปิโตรเลียม |
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน |
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
กลุ่มตรวจสอบภายใน |
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร |
ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) |
สถานที่ติดต่อ |
Logo กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม |
พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม |
พระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย |
พระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับสถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเล |
คู่มือมาตรา 69/70 |
คู่มือการจัดการของเสียจากสถานประกอบกิจการปิโตรเลียม |
คู่มือการจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมสำหรับการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน |
คู่มือการเปลี่ยนแปลง สิทธิ ประโยชน์ และพันธะในสัมปทานปิโตรเลียม ภายใต้ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 |
ดาวน์โหลดไฟล์แผนยุทธศาสตร์กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติปี 2559-2563
ในปีงบประมาณ 2558 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2559 – 2563 ซึ่งประกอบด้วยวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์และตัวชี้วัด ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การดำเนินงานของกระทรวงพลังงาน ในด้านการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน และการส่งเสริมการพัฒนา ผลิต และใช้พลังงานควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินงานการปฏิบัติราชการของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ สามารถสอดรับและเป็นไปในทิศทางเดียวกับกระทรวง
ยุทธศาสตร์ของ ชธ.
1. สร้างความมั่นคงในการจัดหาเชื้อเพลิงธรรมชาติ จากแหล่งภายในประเทศและต่างประเทศ
กลยุทธ์
- เพิ่มการประเมินศักยภาพปิโตรเลียม เพื่อให้มีข้อมูลพื้นที่ที่มีศักยภาพมากขึ้น ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการสำรวจให้ประสบผลสำเร็จมากขึ้น
- เร่งรัดให้มีการเปิดให้สิทธิ์ในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มโอกาสในการพบแหล่งปิโตรเลียมใหม่
- เร่งรัดการสำรวจในพื้นที่สงวน เพื่อเพิ่มโอกาสในการพบปริมาณสำรอง
- ส่งเสริมการสำรวจในพื้นที่สงวน เพื่อเพิ่มโอกาสในการพบปริมาณสำรอง
- ผลักดันการบูรณาการกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานภาครัฐอื่น เพื่อให้สามารถดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ได้
- ส่งเสริมผู้ประกอบการในการผลิตปิโตรเลียมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมุ่งเน้นการเพิ่ม Recovery Factor และ Well Optimization
- เตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมการสำรวจและผลิตอย่างต่อเนื่องในแปลงที่สิ้นสุดระยะเวลาผลิต
- จัดทำแนวทางเพื่อให้การสำรวจและผลิตในพื้นที่พัฒนาร่วมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และแนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนกับประเทศ เพื่อนบ้าน
- ส่งเสริมการจัดหาก๊าซในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย
- ส่งเสริมและผลักดันให้ภาคเอกชนเข้าไปลงทุนสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในต่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นระหว่างกันอันจะก่อให้เกิดความร่วมมือด้านพลังงานในเชิงรุก
- ตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินและสภาวะวิกฤติที่มีผลกระทบต่อการประกอบกิจการปิโตรเลียม
- เตรียมแผนการบริหารจัดการ LNG เพื่อความยั่งยืนด้านพลังงานของประเทศ
- บริหารจัดการและแก้ไขปัญหาถ่านหินอย่างบูรณาการ
2. ส่งเสริมการประกอบกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมให้มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์
- จัดทำแนวทางการรื้อถอนสิ่งติดตั้งในการประกอบกิจการปิโตรเลียมอย่างปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- พัฒนาองค์ความรู้และจัดทำแนวทางปฏิบัติที่ช่วยยกระดับด้านการป้องกันและบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมส่งเสริมให้นำงานศึกษาวิจัย
ที่มีผลประสิทธิผลมาขยายผลอย่างต่อเนื่อง
- กระตุ้นและเสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการมุ่งเน้นการพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง
ในการสำรวจและผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมเชิงป้องกัน
3. มุ่งสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงในการกำกับกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
กลยุทธ์
- เพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานและการให้บริการ โดยทบทวนปรับปรุงมาตรฐานกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ พร้อมพัฒนาระบบและดำเนินการติดตาม
ประเมินผลกระบวนการอย่างต่อเนื่อง
- ยกระดับฐานข้อมูลสู่การเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของประเทศ
- พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและกระบวนการสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ความเที่ยงตรง และสนับสนุนการตัดสินใจของ
ผู้บริหาร
- บริหารอัตรากำลังให้มีความเหมาะสมกับภารกิจ โครงสร้าง พร้อมกับสรรหาและพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพกับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ควบคู่กับการเตรียม
ความพร้อมสู่การเป็นผู้บริหาร
- เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติและให้มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เพื่อ
การพัฒนาองค์กร
- เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรให้มีทักษะในการสื่อสารและงานด้านมวลชนสัมพันธ์
- เสริมสร้างคุณค่า ความพึงพอใจ ความภาคภูมิใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร
4. เสริมสร้างความเชื่อมั่นและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชนและเครือข่ายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
- เพิ่มการประชาสัมพันธ์สถานการณ์ปิโตรเลียมในวงกว้าง เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นต่อกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
- เสริมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในส่วนกลางและระดับภูมิภาค
- ตอบสนองต่อปัญหาเชิงวิกฤติจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมที่มีผลกระทบต่อสังคม