เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ประวัติกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรมองค์กร |
หน้าที่และอำนาจ |
ภารกิจ |
ยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติราชการ |
นโยบายพลังงาน |
โครงสร้างองค์กร |
ทำเนียบบุคลากร |
ผู้บริหาร |
ราชการบริหารส่วนกลาง |
สำนักงานเลขานุการกรม |
กองจัดการเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
กองเทคโนโลยีการประกอบกิจการปิโตรเลียม |
กองบริหารกิจการปิโตรเลียมระหว่างประเทศ |
กองบริหารสัญญาและสัมปทานปิโตรเลียม |
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน |
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
กองความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
กองสัญญาแบ่งปันผลผลิต |
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร |
กลุ่มตรวจสอบภายใน |
ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (DCIO) |
สถานที่ติดต่อ |
Logo กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม |
พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม |
พระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย |
พระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับสถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเล |
คู่มือมาตรา 69/70 |
คู่มือการจัดการของเสียจากสถานประกอบกิจการปิโตรเลียม |
คู่มือการจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมสำหรับการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน |
คู่มือการเปลี่ยนแปลง สิทธิ ประโยชน์ และพันธะในสัมปทานปิโตรเลียม ภายใต้ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 |
ประกาศกระทรวงพลังงาน
เรื่อง การให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม สำหรับแปลงสำรวจบนบก (ครั้งที่ ๒๕)
ด้วยกระทรวงพลังงานประสงค์จะให้มีการยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในแปลงสำรวจบนบก จำนวน ๙ แปลง ดังปรากฏรายละเอียดของเขตพื้นที่แปลงสำรวจที่เปิดให้ยื่นขอตามแผนที่ ป.๙๙/๒๕๖๖ ดังแสดงในเอกสารแนบ ๑ ท้ายประกาศฉบับนี้ และกำหนดให้ดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมสำหรับแปลงสำรวจบนบกดังกล่าวในรูปแบบสัมปทาน ตามมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกอบกับหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการปิโตรเลียม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียม ในรูปแบบสัมปทาน สัญญาแบ่งปันผลผลิต หรือสัญญาจ้างบริการ ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ และ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๔ โดยมีค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ ค่าลดหย่อนพิเศษ และข้อผูกพันขั้นต่ำของแปลงสำรวจดังแสดงในเอกสารแนบ ๒ ท้ายประกาศฉบับนี้
เพื่อให้การได้รับสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมสำหรับแปลงสำรวจบนบกเป็นไปตามมาตรา ๖๖ (๒) แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ผู้ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานมีสิทธิประกอบกิจการปิโตรเลียม ในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิตที่ได้รับสัมปทาน แต่ในกรณีที่ที่ดินในแปลงสำรวจหรือพื้นที่ผลิตที่ผู้ได้รับสิทธิ เป็นผู้รับสัมปทานมีความจำเป็นต้องใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม รวมทั้งที่ดินนอกแปลงสำรวจหรือพื้นที่ผลิตดังกล่าวที่มีความจำเป็นต้องใช้ในการเก็บรักษาหรือขนส่งปิโตรเลียม เป็นที่ดินที่ส่วนราชการเป็นเจ้าของ มีสิทธิครอบครองหรือมีหน้าที่ดูแลตามกฎหมาย เช่น พื้นที่ป่า พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ลุ่มน้ำ หรือพื้นที่อื่นใด ที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องขออนุญาตก่อนเข้าพื้นที่ ผู้ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานต้องขออนุญาตและปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องจากส่วนราชการที่รับผิดชอบก่อนเข้าพื้นที่เพื่อประกอบกิจการปิโตรเลียม ในกรณี ของแปลงสำรวจที่มีพื้นที่อยู่ในที่ดินที่ส่วนราชการเป็นเจ้าของ มีสิทธิครอบครอง หรือมีหน้าที่ดูแล ที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ หรือพื้นที่ใดใดที่ไม่มีกฎหมายรองรับให้ขออนุญาตเข้าพื้นที่เพื่อประกอบกิจการปิโตรเลียมได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ผู้ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานต้องยอมรับถึงการไม่มีสิทธิประกอบกิจการปิโตรเลียมในพื้นที่ดังกล่าวในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิตที่ได้รับสัมปทาน โดยผู้สนใจที่จะยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คุณสมบัติของผู้ขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
ผู้ขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ผู้ขอ) ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ ในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ดังต่อไปนี้
๑.๑ เป็นบริษัท โดยต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้
(๑) เป็นบริษัทที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
(๒) มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจทางด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
(๓) ไม่เป็นบริษัทที่ทิ้งการดำเนินงานตามข้อผูกพันที่กำหนดในสัมปทานหรือ ถูกเพิกถอนสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทย
(๔) ไม่เป็นบริษัทที่มีรายชื่อบุคคลหรือนิติบุคคลผู้ถือหุ้น หรือรายชื่อกรรมการ และผู้มีอำนาจลงนามอยู่ในรายชื่อผู้ทิ้งการดำเนินงานตามข้อผูกพันที่กำหนดในสัมปทานหรือถูกเพิกถอนสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทย
๑.๒ มีทุน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญเพียงพอที่จะสำรวจ ผลิต ขาย และจำหน่ายปิโตรเลียม โดยต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้
(๑) สถานะทางการเงินอย่างน้อย ๒ ปีในช่วงระยะเวลา ๓ ปีย้อนหลัง
- มีมูลค่าการถือครองหุ้นในกิจการ (Shareholder’s Equity) ไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ล้านบาท (หนึ่งร้อยล้านบาท) และ
- มีอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio) ในอัตราส่วนไม่น้อยกว่า ๑
(๒) มีเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา
ในกรณีที่ผู้ขอไม่มีลักษณะครบถ้วนตาม ๑.๒ ต้องมีบริษัทอื่นซึ่งรัฐบาลเชื่อถือ และมีลักษณะตาม ๑.๒ และมีความสัมพันธ์ในด้านทุนหรือการจัดการกับผู้ขอ รับรองที่จะให้ทุน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญเพียงพอที่จะสำรวจ ผลิต ขาย และจำหน่ายปิโตรเลียม
ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ขอประกอบด้วยบริษัทมากกว่าหนึ่งราย ผู้ขอทุกรายต้องมีคุณสมบัติ ตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
ข้อ ๒ การยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
๒.๑ เอกสารการยื่นขอ
๒.๑.๑ คำขอตามแบบ ชธ/ป๑ ที่กำหนดโดยกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอสัมปทานปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๕๕ ตามเอกสารแนบ ๓ ท้ายประกาศฉบับนี้
๒.๑.๒ เอกสารแสดงคุณสมบัติ
(๑) เอกสารแสดงการเป็นบริษัท
หลักฐานการจดทะเบียนบริษัทที่ขอคัดไว้ไม่เกิน ๓ เดือนก่อนวันยื่นเอกสารต่อกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และรับรองโดยหน่วยงานที่รับจดทะเบียนที่แสดงถึงการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
(๑.๑) ชื่อบริษัท
(๑.๒) วันที่จัดตั้ง
(๑.๓) ที่อยู่ของสำนักงานใหญ่
(๑.๔) จำนวนทุนจดทะเบียน
(๑.๕) วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัท
(๑.๖) รายชื่อบุคคลหรือนิติบุคคลผู้ถือหุ้นของบริษัท
(๒) หลักฐานแสดงรายชื่อกรรมการและผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัท หรือกรณีมอบอำนาจต้องแสดงหลักฐานการมอบอำนาจ
(๓) หลักฐานแสดงว่ามีทุน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญ เพียงพอที่จะสำรวจ ผลิต ขาย และจำหน่ายปิโตรเลียม โดยมีสถาบันที่เชื่อถือได้ออกหนังสือรับรองว่าเป็นความจริง เช่น รายงานประจำปี งบการเงินหรือผลประกอบกิจการซึ่งแสดงถึงมูลค่าการถือครองหุ้นในกิจการและอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทย้อนหลัง ๓ ปี หลักฐานการถือครองสิทธิในพื้นที่สำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศต่าง ๆ ในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา หลักฐานการถือครองกรรมสิทธิ์ หลักฐานการจัดซื้อจัดจ้าง สัญญาเช่า สัญญาว่าจ้าง เป็นต้น
ในกรณีที่ผู้ขอประกอบด้วยบริษัทมากกว่าหนึ่งราย ผู้ขอทุกรายต้องยื่นเอกสารทั้ง (๑) (๒) และ (๓) ในกรณีที่ผู้ขอไม่มีลักษณะครบถ้วนตาม (๓) ต้องมีบริษัทอื่นซึ่งรัฐบาลเชื่อถือและมีลักษณะครบถ้วนตาม (๓) และมีความสัมพันธ์ในด้านทุนหรือการจัดการกับผู้ขอ ให้การรับรองที่จะให้ทุน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญเพียงพอที่จะสำรวจ ผลิต ขาย และจำหน่ายปิโตรเลียมแก่ผู้ขอ ทั้งนี้ ผู้ขอต้องยื่นหลักฐานตาม (๑) (๒) และ (๓) ของบริษัทผู้ให้การรับรอง และหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ในด้านทุนหรือการจัดการ กับผู้ขอด้วย
ในกรณีที่ผู้ขอและ/หรือบริษัทผู้ให้การรับรองเป็นบริษัทจดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ หลักฐานตาม (๑) (๒) และ (๓) ต้องมีหนังสือรับรองของสถานเอกอัครราชทูต สถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศนั้น ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย หรือต้องมีหนังสือรับรองของสถานเอกอัครราชทูต สถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศนั้น หรือต้องมีหนังสือรับรองของโนตารีปับลิกในประเทศนั้นหรือของบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับโนตารีปับลิกในกรณีที่ประเทศที่เป็นที่ตั้งบริษัทผู้ขอไม่มีโนตารีปับลิก
ผู้ขอต้องยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติดังกล่าว โดยผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทต้องลงนามกำกับเพื่อรับรองความถูกต้องในหน้าแรกของเอกสารทุกฉบับและทุกหน้าที่แสดงคุณสมบัติ และให้ยื่นใส่ซองปิดผนึกและระบุชัดเจนบนหน้าซองว่า “เอกสารแสดงคุณสมบัติ” พร้อมระบุชื่อผู้ขอในฐานะผู้ดำเนินงานและชื่อแปลงสำรวจที่ยื่นขอ
๒.๑.๓ เอกสารข้อเสนอทางด้านเทคนิคและผลประโยชน์พิเศษ
ผู้ขอต้องยื่นเอกสารข้อเสนอในแต่ละแปลงสำรวจดังต่อไปนี้
(๑) โครงการสำรวจปิโตรเลียม
ผู้ขอต้องเสนอโครงการสำรวจปิโตรเลียมซึ่งระบุวิธีการ กำหนดเวลา ที่จะดำเนินการ ตลอดจนประมาณการค่าใช้จ่ายในการนั้น ๆ พร้อมทั้งรายงานการศึกษาทางธรณีวิทยาตามหัวข้อที่กำหนดในเอกสารแนบ ๔ ท้ายประกาศฉบับนี้ ซึ่งสนับสนุนโครงการสำรวจปิโตรเลียมของแปลงสำรวจที่ยื่นขอ
(๒) เอกสารข้อเสนอข้อผูกพันในด้านปริมาณเงินและปริมาณงานสำหรับ การสำรวจปิโตรเลียม
ผู้ขอต้องเสนอข้อผูกพันในด้านปริมาณเงินและปริมาณงานสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแต่ละแปลง ตามแบบการเสนอข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียม ดังแสดงในเอกสารแนบ ๕ ท้ายประกาศฉบับนี้ โดยสอดคล้องกับข้อ ๕ ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอสัมปทานปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๕๕ ทั้งนี้ ผู้ขอต้องเสนอข้อผูกพันด้านปริมาณงาน และปริมาณเงินตลอดระยะเวลาการสำรวจ โดยต้องไม่ต่ำกว่าข้อผูกพันขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบ ๒ ท้ายประกาศฉบับนี้
(๓) ผลประโยชน์พิเศษ
ผู้ขอต้องเสนอให้ผลประโยชน์พิเศษเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากการชำระค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษตามกฎหมาย ตลอดระยะเวลาที่ได้รับสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ได้แก่ เงินให้เปล่าในการลงนาม กำหนดขั้นต่ำ ๑๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (หนึ่งแสนดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) โดยชำระเงินให้เปล่าดังกล่าวไม่น้อยกว่า ๑๐ วันทำการก่อนวันลงนาม และผู้ขออาจเสนอให้ผลประโยชน์พิเศษอื่น ๆ ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ผู้ขอต้องยอมรับเงื่อนไขการใช้บริการด้านยานพาหนะ การก่อสร้าง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการปิโตรเลียมจากผู้รับจ้างหรือวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในประเทศไทยเป็นอันดับแรก โดยผลประโยชน์พิเศษให้เสนอตามแบบการเสนอดังแสดงในเอกสารแนบ ๕ ท้ายประกาศฉบับนี้
ผู้ขอต้องยื่นเอกสารข้อเสนอเกี่ยวกับโครงการสำรวจปิโตรเลียม ข้อผูกพันในด้านปริมาณงานและปริมาณเงินในการสำรวจปิโตรเลียม และข้อเสนอผลประโยชน์พิเศษดังกล่าว โดยผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทต้องลงนามกำกับ เพื่อรับรองความถูกต้องในเอกสารทุกฉบับและทุกหน้า และให้ยื่นใส่ซองปิดผนึกที่ระบุชัดเจนบนหน้าซองว่า “ข้อเสนอทางด้านเทคนิคและผลประโยชน์พิเศษ” พร้อมระบุชื่อผู้ขอในฐานะผู้ดำเนินงานและชื่อแปลงสำรวจที่ยื่นขอ และยื่นแยกจากซองเอกสารแสดงคุณสมบัติตาม ๒.๑.๒
๒.๒ ค่าธรรมเนียมและการวางหลักประกันคำขอ
๒.๒.๑ ค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอฉบับละ ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ต่อหนึ่งคำขอ โดยจ่ายเป็นเงินสดเท่านั้นในวันที่ยื่นคำขอ และเงินค่าธรรมเนียมนี้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะไม่คืนให้ไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
๒.๒.๒ หลักประกันคำขอจำนวน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามล้านบาทถ้วน) ต่อหนึ่งคำขอ โดยใช้หนังสือค้ำประกันแบบไม่มีเงื่อนไขและเพิกถอนไม่ได้ (The Unconditional and Irrevocable Bank Guarantee) จากธนาคารพาณิชย์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทย และต้องมีระยะเวลาค้ำประกันไม่น้อยกว่า ๑ ปีนับแต่วันที่ยื่นขอให้แก่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
ผู้ขอจะได้รับคืนหลักประกันคำขอเมื่อได้รับแจ้งว่าไม่ได้รับคัดเลือกให้ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทาน หรือได้รับการพิจารณาให้ได้รับสิทธิและมาลงนามรับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานแล้ว
ทั้งนี้ ให้ผู้ขอมีหนังสือขอรับคืนหลักประกันคำขอดังกล่าว และกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะคืนหลักประกันคำขอภายใน ๑๕ วันทำการนับแต่วันที่ได้รับหนังสือขอรับคืนหลักประกันคำขอนั้น
๒.๓ วัน เวลา และสถานที่การยื่นขอสิทธิ
ผู้ยื่นเอกสารต้องเป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจผูกพันแทนบริษัทหรือเป็นผู้รับมอบอำนาจจากกรรมการบริษัทดังกล่าว (ให้นำบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางฉบับจริง และหนังสือมอบอำนาจฉบับจริง (กรณีมีการมอบอำนาจ) มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย) โดยต้องยื่นเอกสารทั้งหมดต่อ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๘ จนถึงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๘ (หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง) โดยยื่น ณ ที่ทำการกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี ชั้น ๒๑ เลขที่ ๕๕๕/๒ ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ในวันและเวลาราชการ
ข้อ ๓ การพิจารณาให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
๓.๑ คำขอที่ได้ยื่นโดยครบถ้วนและถูกต้องตามข้อ ๒ จะเป็นคำขอที่สมบูรณ์และได้รับการพิจารณา
๓.๒ ผู้ขอต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และตามข้อ ๑
๓.๓ ผู้ขอที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติแล้ว และได้เสนอโครงการสำรวจปิโตรเลียม ข้อผูกพันด้านปริมาณงานและปริมาณเงินสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบ ๒ และเอกสารแนบ ๕ ท้ายประกาศฉบับนี้ และผลประโยชน์พิเศษที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด จึงจะมีสิทธิเข้ารับการพิจารณาคัดเลือก โดยใช้หลักเกณฑ์ตามข้อ ๓.๔ และข้อ ๓.๕ ต่อไป
๓.๔ กรณีที่มีผู้ผ่านเกณฑ์ตามข้อ ๓.๓ มากกว่าหนึ่งราย การพิจารณาคัดเลือกจะใช้วิธีเปรียบเทียบการให้คะแนนของแต่ละคำขอในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
(๑) ข้อผูกพันด้านปริมาณงานและปริมาณเงินของโครงการสำรวจปิโตรเลียม | ๘๐ คะแนน |
- คะแนนจากข้อเสนอในช่วงข้อผูกพันการสำรวจช่วงที่ ๑ | ๖๐ คะแนน |
- คะแนนจากข้อเสนอในช่วงข้อผูกพันการสำรวจช่วงที่ ๒ | ๒๐ คะแนน |
(๒) ผลประโยชน์พิเศษที่เสนอให้แก่รัฐ | ๒๐ คะแนน |
ผู้ขอที่ได้คะแนนรวมสูงสุดจะได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทาน
๓.๕ ในการพิจารณาโครงการสำรวจปิโตรเลียมจะพิจารณาจากปริมาณงานที่เสนอว่า มีความสอดคล้องกับเหตุผลทางธรณีวิทยาของพื้นที่แปลงสำรวจ และปริมาณเงินที่เสนอมีความเหมาะสมกับปริมาณงานที่จะกระทำหรือไม่
๓.๖ กรณีที่แปลงสำรวจใดมีผู้ยื่นขอเพียงหนึ่งรายหรือมีผู้ผ่านเกณฑ์ตามข้อ ๓.๓ เพียงหนึ่งราย ทางราชการสงวนสิทธิที่จะพิจารณายกเลิก หรือให้ หรือไม่ให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมสำหรับแปลงสำรวจนั้น ก็ได้ตามที่ทางราชการเห็นสมควร ทั้งนี้ ผู้ขอจะไม่เรียกร้องค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายใด ๆ ต่อทางราชการทั้งสิ้น
ข้อ ๔ ข้อสงวนสิทธิและอื่น ๆ
๔.๑ ทางราชการสงวนสิทธิที่จะไม่รับพิจารณาคำขอใด ๆ ของผู้ขอในกรณี
๔.๑.๑ ยื่นคำขอเมื่อพ้นจากกำหนดเวลาตามข้อ ๒.๓
๔.๑.๒ ยื่นเอกสารไม่ถูกต้องและครบถ้วนตามข้อ ๒.๑
๔.๑.๓ ไม่ชำระค่าธรรมเนียมหรือไม่วางหลักประกันตามข้อ ๒.๒
๔.๑.๔ แสดงเอกสารหรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือเป็นเท็จ
ทั้งนี้ ผู้ขอจะไม่เรียกร้องค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายใด ๆ ต่อทางราชการทั้งสิ้น
๔.๒ ทางราชการสงวนสิทธิที่จะพิจารณายกเลิก หรือให้ หรือไม่ให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมตามประกาศฉบับนี้แก่ผู้ขอรายหนึ่งรายใดก็ได้ และผู้ขอจะไม่เรียกร้องค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายใด ๆ ต่อทางราชการ
๔.๓ คำขอ ข้อกำหนดและเงื่อนไขรวมถึงข้อเสนอที่ผู้ขอเสนอตามประกาศฉบับนี้จะถือเป็นส่วนหนึ่งของสัมปทานปิโตรเลียม
๔.๔ กระทรวงพลังงานจะมอบสิทธิให้ผู้ขอที่ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทาน โดยออก เป็นสัมปทานปิโตรเลียมหนึ่งสัมปทานต่อหนึ่งแปลงสำรวจ ทั้งนี้ สัมปทานปิโตรเลียมเป็นไปตามแบบ ชธ/ป๒ ที่กำหนดโดยกฎกระทรวงกำหนดแบบสัมปทานปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๕๕ ตามเอกสารแนบ ๖ ท้ายประกาศฉบับนี้
๔.๕ เมื่อกระทรวงพลังงานได้ประกาศผลการพิจารณาให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และได้แจ้งกำหนดวัน เวลา และสถานที่เพื่อลงนามในสัมปทานปิโตรเลียม โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะแจ้ง เป็นลายลักษณ์อักษรไปยังที่อยู่ที่ระบุไว้ในเอกสารยื่นคำขอ ให้ผู้ขอที่ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานดำเนินการดังต่อไปนี้
๔.๕.๑ ผู้ขอที่ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานต้องวางหลักประกันการดำเนินงาน ต่อกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เพื่อให้กระทรวงพลังงานมั่นใจว่าจะสามารถดำเนินงานตามข้อผูกพันที่กำหนด ทั้งนี้ กำหนดให้วางหลักประกันเป็นจำนวนเงินเท่ากับปริมาณเงินตามข้อผูกพันการสำรวจที่ได้เสนอ และผลประโยชน์พิเศษที่เสนอให้แก่รัฐในช่วงการสำรวจทั้ง ๖ ปี โดยให้ใช้หนังสือค้ำประกันแบบไม่มีเงื่อนไขและเพิกถอนไม่ได้ (The Unconditional and Irrevocable Bank Guarantee) จากธนาคารพาณิชย์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทย ฉบับเดียวหรือหลายฉบับรวมกันก็ได้ แต่รวมกันแล้วต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าปริมาณเงินตามข้อผูกพันการสำรวจที่ได้เสนอและผลประโยชน์พิเศษที่เสนอให้แก่รัฐ โดยหนังสือค้ำประกันนี้ต้องมีระยะเวลาค้ำประกันไม่น้อยกว่า ๖ ปีนับแต่วันลงนามในสัมปทานปิโตรเลียม
ผู้ขอที่ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานต้องวางหลักประกันการดำเนินงานให้แก่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติอย่างน้อย ๑๐ วันทำการก่อนวันลงนามในสัมปทานปิโตรเลียม
หากผู้ขอที่ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานมิได้วางหลักประกันการดำเนินงานตามที่กำหนด หรือมิได้มาลงนามในสัมปทานปิโตรเลียมเพื่อรับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร จะถือว่าไม่ประสงค์จะได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทาน และยินยอมให้ริบหรือบังคับหลักประกันคำขอทั้งหมด ทั้งนี้ ผู้ขอที่ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานจะไม่เรียกร้องค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายหรือสิทธิใด ๆ ต่อทางราชการทั้งสิ้น
๔.๕.๒ หากผู้ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานปฏิบัติไม่ครบตามข้อผูกพันการสำรวจ ทั้งด้านปริมาณงานและปริมาณเงินในระยะเวลาที่กำหนด หรือคืนพื้นที่แปลงสำรวจทั้งแปลงก่อนสิ้นช่วงข้อผูกพัน ช่วงที่หนึ่ง (๓ ปีแรก) จะต้องจ่ายเงินส่วนที่ยังมิได้ใช้จ่ายไปในช่วงข้อผูกพันนั้นให้แก่รัฐ และให้รัฐมีสิทธิ ริบหรือบังคับหลักประกันการดำเนินงานทั้งหมดหรือบางส่วน หากผู้ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานไม่ใช้จ่ายเงินตามข้อผูกพันการสำรวจและ/หรือชำระผลประโยชน์พิเศษให้ครบถ้วน
หลักประกันการดำเนินงานจะคืนให้แก่ผู้ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานทั้งหมด เมื่อได้ปฏิบัติตามข้อผูกพันการสำรวจและชำระผลประโยชน์พิเศษครบถ้วน ทั้งนี้ ผู้ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานสามารถขอปรับลดวงเงินหลักประกันการดำเนินงานเมื่อได้ดำเนินงานตามข้อผูกพันการสำรวจและชำระผลประโยชน์พิเศษในแต่ละปีครบถ้วน
เมื่อผู้ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานมีหนังสือแจ้งความประสงค์ขอรับคืนหรือปรับลดวงเงินหลักประกันการดำเนินงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะคืนหรือให้ปรับลดวงเงินหลักประกันการดำเนินงานดังกล่าวภายใน ๑๕ วันทำการนับแต่วันที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติตรวจสอบแล้วว่าปฏิบัติตามข้อผูกพันการสำรวจและชำระผลประโยชน์พิเศษตามแต่ละกรณีครบถ้วน
๔.๕.๓ ผู้ขอที่ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานต้องชำระเงินให้เปล่าในการลงนาม ตามที่ได้เสนอไว้ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๐ วันทำการก่อนวันลงนามในสัมปทานปิโตรเลียม โดยให้ชำระเป็นเช็ค หรือดราฟท์ที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่ายกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ซึ่งเป็นเช็คหรือดราฟท์ลงวันที่ที่ใช้เช็คหรือดราฟท์นั้นชำระต่อเจ้าหน้าที่ หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน ๓ วันทำการ และออกโดยธนาคารพาณิชย์เฉพาะสาขาในประเทศไทยเท่านั้น
หากผู้ขอที่ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานมิได้ชำระเงินให้เปล่าในการลงนามตามที่กำหนด จะถือว่าไม่ประสงค์จะได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทาน และยินยอมให้ริบหรือบังคับหลักประกันคำขอทั้งหมด ทั้งนี้ ผู้ขอที่ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานจะไม่เรียกร้องค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายหรือสิทธิใด ๆ ต่อทางราชการทั้งสิ้น
๔.๖ การคืนหลักประกันใด ๆ ให้แก่ผู้ขอหรือผู้ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานเป็นการคืนเฉพาะหลักประกันโดยไม่มีดอกเบี้ย
๔.๗ ผู้ขอที่ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานต้องประกอบกิจการปิโตรเลียมภายใต้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายอื่น และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องทั้งในปัจจุบันและอนาคตโดยเคร่งครัด
ทั้งนี้ ผู้ขอที่ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัมปทานต้องยอมรับและปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตเข้าใช้ที่ดินที่ส่วนราชการเป็นเจ้าของ มีสิทธิครอบครอง หรือมีหน้าที่ดูแลตามกฎหมาย เพื่อประกอบกิจการปิโตรเลียมอย่างเคร่งครัด โดยไม่สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายใด ๆ จากการไม่สามารถเข้าพื้นที่แปลงสำรวจและพื้นที่ผลิตต่อทางราชการได้
๔.๘ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมีสิทธิเรียกให้ผู้ขอชี้แจงหรือยื่นเอกสารชี้แจงเพิ่มเติม ในรายละเอียด ทั้งนี้ ต้องไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกับผู้ขอรายอื่น ๆ
๔.๙ ผู้ขอต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการยื่นขอเองทั้งสิ้น และไม่สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายใด ๆ ต่อทางราชการได้
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.dmf.go.th ในกรณีที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม สามารถสอบถามมายังกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ : PetroleumBidding@dmf.go.th
ประกาศ ณ วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๗
(นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
แผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของพื้นที่แปลงสำรวจบนบก
ที่เปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ครั้งที่ ๒๕ จำนวน ๙ แปลง
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจบนบกที่เปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ครั้งที่ ๒๕
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L1/66
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L1/66
แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L1/66
มีพื้นที่ ๓,๒๒๓.๕๑ ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วยเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุด ๑ ถึงจุดที่ ๒๒ ซึ่งมีพิกัดภูมิศาสตร์ ดังต่อไปนี้
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
1 | 16° 50' 00" | 102° 25' 00" |
2 | 17° 20' 00" | 102° 25' 00" |
3 | 17° 20' 00" | 102° 36' 00" |
4 | 17° 33' 00" | 102° 36' 00" |
5 | 17° 33' 00" | 102° 54' 00" |
6 | 17° 13' 00" | 102° 54' 00" |
7 | 17° 13' 00" | 102° 51' 00" |
8 | 16° 56' 00" | 102° 51' 00" |
9 | 16° 56' 00" | 102° 49' 00" |
10 | 16° 47' 00" | 102° 49' 00" |
11 | 16° 47' 00" | 102° 38' 00" |
12 | 16° 50' 00" | 102° 38' 00" |
13 | 17° 06' 27" | 102° 38' 00" |
14 | 17° 12' 00" | 102° 38' 00" |
15 | 17° 12' 00" | 102° 44' 00" |
16 | 17° 15' 00" | 102° 44' 00" |
17 | 17° 15' 00" | 102° 47' 00" |
18 | 17° 06' 27" | 102° 47' 00" |
19 | 17° 06' 27" | 102° 44' 00" |
20 | 17° 03' 27" | 102° 44' 00" |
21 | 17° 03' 27" | 102° 40' 00" |
22 | 17° 06' 27" | 102° 40' 00" |
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L2/66
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L2/66
แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L2/66
มีพื้นที่ ๓,๙๑๗.๐๓ ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วยเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุด ๑ ถึงจุดที่ ๑๐ ซึ่งมีพิกัดภูมิศาสตร์ ดังต่อไปนี้
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
1 | 16° 58' 00" | 102° 51' 00" |
2 | 17° 13' 00" | 102° 51' 00" |
3 | 17° 13' 00" | 102° 54' 00" |
4 | 17° 18' 00" | 102° 54' 00" |
5 | 17° 18' 00" | 103° 39' 00" |
6 | 17° 04' 00" | 103° 39' 00" |
7 | 17° 04' 00" | 103° 48' 00" |
8 | 16° 52' 00" | 103° 48' 00" |
9 | 16° 52' 00" | 103° 15' 00" |
10 | 16° 58' 00" | 103° 15' 00" |
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L3/66
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L3/66
แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L3/66
มีพื้นที่ ๓,๙๑๘.๒๒ ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วยเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุด ๑ ถึงจุดที่ ๒๔ ซึ่งมีพิกัดภูมิศาสตร์ ดังต่อไปนี้
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
1 | 16° 45' 00" | 102° 49' 00" |
2 | 16° 56' 00" | 102° 49' 00" |
3 | 16° 56' 00" | 102° 51' 00" |
4 | 16° 58' 00" | 102° 51' 00" |
5 | 16° 58' 00" | 103° 15' 00" |
6 | 16° 52' 00" | 103° 15' 00" |
7 | 16° 52' 00" | 103° 42' 00" |
8 | 16° 23' 00" | 103° 42' 00" |
9 | 16° 23' 00" | 103° 21' 00" |
10 | 16° 35' 00" | 103° 21' 00" |
11 | 16° 35' 00" | 102° 59' 00" |
12 | 16° 45' 00" | 102° 59' 00" |
13 | 16° 46' 30" | 103° 11' 10.5" |
14 | 16° 48' 00" | 103° 11' 10.5" |
15 | 16° 48' 00" | 103° 12' 30" |
16 | 16° 48' 30" | 103° 12' 30" |
17 | 16° 48' 30" | 103° 15' 30" |
18 | 16° 46' 30" | 103° 15' 30" |
19 | 16° 46' 30" | 103° 15' 00" |
20 | 16° 45' 30" | 103° 15' 00" |
21 | 16° 45' 30" | 103° 14' 00" |
22 | 16° 46' 00" | 103° 14' 00" |
23 | 16° 46' 00" | 103° 12' 30" |
24 | 16° 46' 30" | 103° 12' 30" |
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L4/66
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L4/66
แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L4/66
มีพื้นที่ ๓,๖๕๖.๖๕ ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วยเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุด ๑ ถึงจุดที่ ๑๐ ซึ่งมีพิกัดภูมิศาสตร์ ดังต่อไปนี้
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
1 | 15° 57' 00" | 104° 26' 00" |
2 | 16° 58' 00" | 104° 26' 00" |
3 | 16° 58' 00" | 104° 44' 00" |
4 | 16° 27' 00" | 104° 44' 00" |
5 | 16° 27' 00" | 104° 35' 00" |
6 | 16° 20' 00" | 104° 35' 00" |
7 | 16° 20' 00" | 104° 42' 00" |
8 | 16° 15' 00" | 104° 42' 00" |
9 | 16° 15' 00" | 104° 49' 00" |
10 | 15° 57' 00" | 104° 49' 00" |
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L5/66
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L5/66
แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L5/66
มีพื้นที่ ๓,๔๓๖.๐๑ ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วยเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุด ๑ ถึงจุดที่ ๑๐ ซึ่งมีพิกัดภูมิศาสตร์ ดังต่อไปนี้
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
1 | 15° 59' 00" | 102° 01' 00" |
2 | 16° 31' 00" | 102° 01' 00" |
3 | 16° 31' 00" | 102° 17' 00" |
4 | 16° 25' 00" | 102° 17' 00" |
5 | 16° 25' 00" | 102° 25' 00" |
6 | 16° 04' 00" | 102° 25' 00" |
7 | 16° 04' 00" | 102° 37' 00" |
8 | 15° 47' 00" | 102° 37' 00" |
9 | 15° 47' 00" | 102° 15' 00" |
10 | 15° 59' 00" | 102° 15' 00" |
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L6/66
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L6/66
แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L6/66
มีพื้นที่ ๓,๙๖๖.๘๖ ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วยเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุด ๑ ถึงจุดที่ ๘๔ ซึ่งมีพิกัดภูมิศาสตร์ ดังต่อไปนี้
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
1 | 15° 21' 00" | 100° 59' 00" |
2 | 16° 18' 20" | 100° 59' 00" |
3 | 16° 18' 20" | 101° 20' 40" |
4 | 15° 21' 00" | 101° 20' 40" |
5 | 15° 41' 07" | 101° 06' 34" |
6 | 15° 42' 46" | 101° 06' 34" |
7 | 15° 42' 46" | 101° 07' 35" |
8 | 15° 43' 27" | 101° 07' 35" |
9 | 15° 43' 27" | 101° 08' 25" |
10 | 15° 41' 07" | 101° 08' 25" |
11 | 15° 41' 07" | 101° 08' 00" |
12 | 15° 40' 40" | 101° 08' 00" |
13 | 15° 40' 40" | 101° 06' 42" |
14 | 15° 41' 07" | 101° 06' 42" |
15 | 15° 35' 36" | 101° 07' 30" |
16 | 15° 37' 30" | 101° 07' 30" |
17 | 15° 37' 30" | 101° 08' 45" |
18 | 15° 38' 00" | 101° 08' 45" |
19 | 15° 38' 00" | 101° 08' 16" |
20 | 15° 38' 55" | 101° 08' 16" |
21 | 15° 38' 55" | 101° 07' 50" |
22 | 15° 40' 00" | 101° 07' 50" |
23 | 15° 40' 00" | 101° 10' 42" |
24 | 15° 39' 38" | 101° 10' 42" |
25 | 15° 39' 38" | 101° 12' 18" |
26 | 15° 39' 15" | 101° 12' 18" |
27 | 15° 39' 15" | 101° 12' 00" |
28 | 15° 38' 19" | 101° 12' 00" |
29 | 15° 38' 19" | 101° 14' 23" |
30 | 15° 39' 13" | 101° 14' 23" |
31 | 15° 39' 13" | 101° 13' 18" |
32 | 15° 40' 00" | 101° 13' 18" |
33 | 15° 40' 00" | 101° 14' 57" |
34 | 15° 39' 00" | 101° 14' 57" |
35 | 15° 39' 00" | 101° 15' 17" |
36 | 15° 37' 23" | 101° 15' 17" |
37 | 15° 37' 23" | 101° 14' 53" |
38 | 15° 36' 54" | 101° 14' 53" |
39 | 15° 36' 54" | 101° 14' 23" |
40 | 15° 36' 20" | 101° 14' 23" |
41 | 15° 36' 20" | 101° 13' 39" |
42 | 15° 33' 13" | 101° 13' 39" |
43 | 15° 33' 13" | 101° 12' 12" |
44 | 15° 31' 06" | 101° 12' 12" |
45 | 15° 31' 06" | 101° 11' 21" |
46 | 15° 31' 44" | 101° 11' 21" |
47 | 15° 31' 44" | 101° 11' 10" |
48 | 15° 32' 01" | 101° 11' 10" |
49 | 15° 32' 01" | 101° 11' 05" |
50 | 15° 32' 43" | 101° 11' 05" |
51 | 15° 32' 43" | 101° 10' 38" |
52 | 15° 36' 30" | 101° 10' 38" |
53 | 15° 36' 30" | 101° 10' 40" |
54 | 15° 37' 20" | 101° 10' 40" |
55 | 15° 37' 20" | 101° 10' 25" |
56 | 15° 38' 23" | 101° 10' 25" |
57 | 15° 38' 23" | 101° 09' 30" |
58 | 15° 37' 20" | 101° 09' 30" |
59 | 15° 37' 20" | 101° 09' 41" |
60 | 15° 37' 09" | 101° 09' 41" |
61 | 15° 37' 09" | 101° 09' 31" |
62 | 15° 36' 30" | 101° 09' 31" |
63 | 15° 36' 30" | 101° 08' 50" |
64 | 15° 36' 15" | 101° 08' 50" |
65 | 15° 36' 15" | 101° 08' 15" |
66 | 15° 35' 36" | 101° 08' 15" |
67 | 15° 28' 27" | 101° 08' 34" |
68 | 15° 30' 00" | 101° 08' 34" |
69 | 15° 30' 00" | 101° 08' 55" |
70 | 15° 29' 10" | 101° 08' 55" |
71 | 15° 29' 10" | 101° 09' 06" |
72 | 15° 29' 01" | 101° 09' 06" |
73 | 15° 29' 01" | 101° 09' 12" |
74 | 15° 28' 53" | 101° 09' 12" |
75 | 15° 28' 53" | 101° 09' 22" |
76 | 15° 28' 45" | 101° 09' 22" |
77 | 15° 28' 45" | 101° 09' 40" |
78 | 15° 27' 54" | 101° 09' 40" |
79 | 15° 27' 54" | 101° 09' 22" |
80 | 15° 28' 04" | 101° 09' 22" |
81 | 15° 28' 04" | 101° 09' 15" |
82 | 15° 28' 18" | 101° 09' 15" |
83 | 15° 28' 18" | 101° 09' 08" |
84 | 15° 28' 27" | 101° 09' 08" |
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L7/66
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L7/66
แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L7/66
มีพื้นที่ ๓,๔๘๓.๕๑ ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วยเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุด ๑ ถึงจุดที่ ๔ ซึ่งมีพิกัดภูมิศาสตร์ ดังต่อไปนี้้
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
1 | 15° 11' 00" | 102° 48' 00" |
2 | 15° 44' 00" | 102° 48' 00" |
3 | 15° 44' 00" | 103° 20' 00" |
4 | 15° 11' 00" | 103° 20' 00" |
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L8/66
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L8/66
แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L8/66
มีพื้นที่ ๓,๙๕๗.๔๑ ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วยเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุด ๑ ถึงจุดที่ ๗๐ ซึ่งมีพิกัดภูมิศาสตร์ ดังต่อไปนี้
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
1 | 13° 49' 00" | 99° 46' 00" |
2 | 14° 50' 10" | 99° 46' 00" |
3 | 14° 50' 10" | 100° 06' 30" |
4 | 13° 49' 00" | 100° 06' 30" |
5 | 14° 27' 05" | 99° 56' 09" |
6 | 14° 32' 19" | 99° 56' 09" |
7 | 14° 32' 19" | 100° 00' 00" |
8 | 14° 27' 49" | 100° 00' 00" |
9 | 14° 27' 49" | 100° 03' 12" |
10 | 14° 20' 00" | 100° 03' 12" |
11 | 14° 20' 00" | 100° 00' 00" |
12 | 14° 25' 30" | 100° 00' 00" |
13 | 14° 25' 30" | 99° 58' 00" |
14 | 14° 26' 35" | 99° 58' 00" |
15 | 14° 26' 35" | 99° 57' 50" |
16 | 14° 26' 45" | 99° 57' 50" |
17 | 14° 26' 45" | 99° 57' 40" |
18 | 14° 27' 05" | 99° 57' 40" |
19 | 14° 21' 25" | 99° 58' 10" |
20 | 14° 23' 15" | 99° 58' 10" |
21 | 14° 23' 15" | 99° 58' 25" |
22 | 14° 23' 45" | 99° 58' 25" |
23 | 14° 23' 45" | 99° 58' 30" |
24 | 14° 24' 15" | 99° 58' 30" |
25 | 15° 24' 15" | 99° 58' 20" |
26 | 14° 24' 25" | 99° 58' 20" |
27 | 14° 24' 25" | 99° 58' 35" |
28 | 14° 24' 40" | 99° 58' 35" |
29 | 14° 24' 40" | 99° 58' 55" |
30 | 14° 23' 45" | 99° 58' 55" |
31 | 14° 23' 45" | 99° 58' 45" |
32 | 14° 23' 15" | 99° 58' 45" |
33 | 14° 23' 15" | 99° 59' 00" |
34 | 14° 21' 25" | 99° 59' 00" |
35 | 14° 18' 34" | 99° 57' 36" |
36 | 14° 19' 16" | 99° 57' 36" |
37 | 14° 19' 16" | 99° 58' 24" |
38 | 14° 18' 50" | 99° 58' 24" |
39 | 14° 18' 50" | 99° 58' 41" |
40 | 14° 18' 55" | 99° 58' 41" |
41 | 14° 18' 55" | 99° 58' 36" |
42 | 14° 19' 27" | 99° 58' 36" |
43 | 14° 19' 27" | 99° 59' 11" |
44 | 14° 18' 12" | 99° 59' 11" |
45 | 14° 18' 12" | 99° 58' 41" |
46 | 14° 17' 45" | 99° 58' 41" |
47 | 14° 17' 45" | 99° 58' 24" |
48 | 14° 18' 34" | 99° 58' 24" |
49 | 14° 03' 05" | 99° 50' 05" |
50 | 14° 05' 15" | 99° 50' 05" |
51 | 14° 05' 15" | 99° 51' 45" |
52 | 14° 03' 05" | 99° 51' 45" |
53 | 14° 03' 30" | 99° 54' 37" |
54 | 14° 04' 28" | 99° 54' 37" |
55 | 14° 04' 28" | 99° 55' 19" |
56 | 14° 03' 46.06" | 99° 55' 19" |
57 | 14° 03' 46.06" | 99° 55' 41.68" |
58 | 14° 02' 54" | 99° 55' 41.68" |
59 | 14° 02' 54" | 99° 55' 35" |
60 | 14° 02' 46" | 99° 55' 35" |
61 | 14° 02' 46" | 99° 56' 03" |
62 | 14° 01' 45" | 99° 56' 03" |
63 | 14° 01' 45" | 99° 56' 51" |
64 | 14° 00' 50" | 99° 56' 51" |
65 | 14° 00' 50" | 99° 55' 22" |
66 | 14° 02' 02" | 99° 55' 22" |
67 | 14° 02' 02" | 99° 54' 53.4" |
68 | 14° 02' 54" | 99° 54' 53.4" |
69 | 14° 02' 54" | 99° 55' 00" |
70 | 14° 03' 30" | 99° 55' 00" |
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L9/66
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L9/66
แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L9/66
มีพื้นที่ ๓,๘๘๕.๔๔ ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วยเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุด ๑ ถึงจุดที่ ๔ ซึ่งมีพิกัดภูมิศาสตร์ ดังต่อไปนี้
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
1 | 14° 30' 30" | 101° 40' 30" |
2 | 15° 04' 00" | 101° 40' 30" |
3 | 15° 04' 00" | 102° 15' 30" |
4 | 14° 30' 30" | 102° 15' 30" |
รายละเอียดข้อมูลแปลงสำรวจสำหรับการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
สำหรับแปลงสำรวจบนบก ครั้งที่ ๒๕
แปลงสำรวจบนบก จำนวน ๙ แปลง แสดงรายละเอียดของพื้นที่สำรวจ ค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ (ค่า K) ค่าลดหย่อนพิเศษ (ค่า SR) และข้อผูกพันด้านปริมาณงานและปริมาณเงินของแต่ละแปลงสำรวจ ดังนี้
๑) พื้นที่บนบกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๗ แปลง รวมพื้นที่ ๒๕,๕๒๐.๓๗ ตารางกิโลเมตร
แปลงสำรวจ | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จังหวัด | ภาค | ค่า K | ค่า SR (ร้อยละ) |
ปริมาณงานและปริมาณเงิน (ข้อผูกพันช่วงที่ ๑ และ ๒) |
||
ปริมาณงานขั้นต่ำ* | ปริมาณเงินขั้นต่ำการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน** (ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) |
ปริมาณเงินขั้นต่ำการเจาะหลุมสำรวจ*** (ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) |
||||||
L1/66 | ๓,๒๒๓.๕๑ | หนองบัวลำภู อุดรธานี และขอนแก่น | ตะวันออกเฉียงเหนือ | ๔๕๐,๐๐๐ | ๓๕ | ข้อผูกพันช่วงที่ ๑ | ||
- สำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ ๓ มิติ และ/หรือแบบ ๒ มิติ เทียบเท่าแบบ ๓ มิติ ไม่น้อยกว่า ๘๐ ตร.กม. | ๒,๐๐๐,๐๐๐ | |||||||
- เจาะหลุมสำรวจ ๑ หลุม | ๖,๐๐๐,๐๐๐ | |||||||
ข้อผูกพันช่วงที่ ๒ | ||||||||
- เจาะหลุมสำรวจ ๑ หลุม | ๖,๐๐๐,๐๐๐ | |||||||
L2/66 | ๓,๙๑๗.๐๓ | สกลนคร อุดรธานี และกาฬสินธุ์ | ตะวันออกเฉียงเหนือ | ๔๕๐,๐๐๐ | ๓๕ | ข้อผูกพันช่วงที่ ๑ | ||
- สำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ ๓ มิติ และ/หรือแบบ ๒ มิติ เทียบเท่าแบบ ๓ มิติ ไม่น้อยกว่า ๙๐ ตร.กม. | ๒,๒๕๐,๐๐๐ | |||||||
ข้อผูกพันช่วงที่ ๒ | ||||||||
- เจาะหลุมสำรวจ ๑ หลุม | ๖,๐๐๐,๐๐๐ | |||||||
L3/66 | ๓,๙๑๘.๒๒ | ขอนแก่น มหาสารคาม อุดรธานี และกาฬสินธุ์ | ตะวันออกเฉียงเหนือ | ๔๕๐,๐๐๐ | ๓๕ | ข้อผูกพันช่วงที่ ๑ | ||
- สำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ ๓ มิติ และ/หรือแบบ ๒ มิติ เทียบเท่าแบบ ๓ มิติ ไม่น้อยกว่า ๘๐ ตร.กม. | ๒,๐๐๐,๐๐๐ | |||||||
- เจาะหลุมสำรวจ ๑ หลุม | ๖,๐๐๐,๐๐๐ | |||||||
ข้อผูกพันช่วงที่ ๒ | ||||||||
- เจาะหลุมสำรวจ ๑ หลุม | ๖,๐๐๐,๐๐๐ | |||||||
L4/66 | ๓,๖๕๖.๖๕ | นครพนม มุกดาหาร ยโสธร และอำนาจเจริญ | ตะวันออกเฉียงเหนือ | ๔๕๐,๐๐๐ | ๓๕ | ข้อผูกพันช่วงที่ ๑ | ||
- สำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ ๓ มิติ และ/หรือแบบ ๒ มิติ เทียบเท่าแบบ ๓ มิติ ไม่น้อยกว่า ๙๐ ตร.กม. | ๒,๒๕๐,๐๐๐ | |||||||
ข้อผูกพันช่วงที่ ๒ | ||||||||
- เจาะหลุมสำรวจ ๑ หลุม | ๖,๐๐๐,๐๐๐ | |||||||
L5/66 | ๓,๔๓๖.๐๑ | ขอนแก่น ชัยภูมิ และนครราชสีมา | ตะวันออกเฉียงเหนือ | ๔๕๐,๐๐๐ | ๓๕ | ข้อผูกพันช่วงที่ ๑ | ||
- สำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ ๓ มิติ และ/หรือแบบ ๒ มิติ เทียบเท่าแบบ ๓ มิติ ไม่น้อยกว่า ๙๐ ตร.กม. | ๒,๒๕๐,๐๐๐ | |||||||
ข้อผูกพันช่วงที่ ๒ | ||||||||
- เจาะหลุมสำรวจ ๑ หลุม | ๖,๐๐๐,๐๐๐ | |||||||
L7/66 | ๓,๔๘๓.๕๑ | บุรีรัมย์ นครราชสีมา มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ และขอนแก่น | ตะวันออกเฉียงเหนือ | ๔๕๐,๐๐๐ | ๓๕ | ข้อผูกพันช่วงที่ ๑ | ||
- สำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ ๓ มิติ และ/หรือแบบ ๒ มิติ เทียบเท่าแบบ ๓ มิติ ไม่น้อยกว่า ๙๐ ตร.กม. | ๒,๒๕๐,๐๐๐ | |||||||
ข้อผูกพันช่วงที่ ๒ | ||||||||
- เจาะหลุมสำรวจ ๑ หลุม | ๖,๐๐๐,๐๐๐ | |||||||
L9/66 | ๓,๘๘๕.๔๔ | นครราชสีมา | ตะวันออกเฉียงเหนือ | ๔๕๐,๐๐๐ | ๓๕ | ข้อผูกพันช่วงที่ ๑ | ||
- สำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ ๓ มิติ และ/หรือแบบ ๒ มิติ เทียบเท่าแบบ ๓ มิติ ไม่น้อยกว่า ๗๐ ตร.กม. | ๑,๗๕๐,๐๐๐ | |||||||
ข้อผูกพันช่วงที่ ๒ | ||||||||
- เจาะหลุมสำรวจ ๑ หลุม | ๖,๐๐๐,๐๐๐ |
๒) พื้นที่บนบกภาคกลาง จำนวน ๒ แปลง รวมพื้นที่ ๗,๙๒๔.๒๗ ตารางกิโลเมตร
แปลงสำรวจ | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จังหวัด | ภาค | ค่า K | ค่า SR (ร้อยละ) |
ปริมาณงานและปริมาณเงิน (ข้อผูกพันช่วงที่ ๑ และ ๒) |
||
ปริมาณงานขั้นต่ำ* | ปริมาณเงินขั้นต่ำการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน** (ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) |
ปริมาณเงินขั้นต่ำการเจาะหลุมสำรวจ*** (ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) |
||||||
L6/66**** | ๓,๙๖๖.๘๖ | เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ และลพบุรี | กลาง | ๓๐๐,๐๐๐ | ๓๕ | ข้อผูกพันช่วงที่ ๑ | ||
- สำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ ๓ มิติ และ/หรือแบบ ๒ มิติ เทียบเท่าแบบ ๓ มิติ ไม่น้อยกว่า ๖๐ ตร.กม. | ๑,๕๐๐,๐๐๐ | |||||||
ข้อผูกพันช่วงที่ ๒ | ||||||||
- เจาะหลุมสำรวจ ๑ หลุม | ๑,๐๐๐,๐๐๐ | |||||||
L8/66 | ๓,๙๕๗.๔๑ | ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม และสุพรรณบุรี | กลาง | ๓๐๐,๐๐๐ | ๓๕ | ข้อผูกพันช่วงที่ ๑ | ||
- สำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ ๓ มิติ และ/หรือแบบ ๒ มิติ เทียบเท่าแบบ ๓ มิติ ไม่น้อยกว่า ๖๐ ตร.กม. | ๑,๕๐๐,๐๐๐ | |||||||
ข้อผูกพันช่วงที่ ๒ | ||||||||
- เจาะหลุมสำรวจ ๑ หลุม | ๑,๐๐๐,๐๐๐ |
หมายเหตุ:
* การเปรียบเทียบปริมาณงานการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน ให้ถือว่าการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ ๒ มิติ ๓.๕ กิโลเมตร เทียบเท่ากับแบบ ๓ มิติ ๑ ตารางกิโลเมตร
** ค่าใช้จ่ายต่อหน่วยในการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน
- ไม่น้อยกว่า ๗,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อกิโลเมตร สำหรับการสำรวจแบบ ๒ มิติ
- ไม่น้อยกว่า ๒๕,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อตารางกิโลเมตร สำหรับการสำรวจแบบ ๓ มิติ
*** ค่าใช้จ่ายต่อหลุมในการเจาะหลุมสำรวจ
- ไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อหลุม สำหรับแปลงสำรวจบนบกภาคกลาง
- ไม่น้อยกว่า ๖,๐๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อหลุม สำหรับแปลงสำรวจบนบกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
**** แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L6/66 มีพื้นที่ส่วนใหญ่ซ้อนทับกับขอบเขตพื้นที่เมืองโบราณ พื้นที่กันชน (Buffer Zone) และพื้นที่แวดล้อมที่กว้างขึ้น (Wider Setting) ของเมืองโบราณศรีเทพ
หัวข้อรายงานการศึกษาทางธรณีวิทยา
1. รายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร
2. บทนำ
3. ประวัติการสำรวจปิโตรเลียม
4. ธรณีแปรสัณฐานและธรณีวิทยาพื้นฐาน
5. ธรณีวิทยาปิโตรเลียม
6. แนวคิดในการสำรวจและแผนการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม
7. ข้ออภิปรายและข้อสรุป
8. แหล่งอ้างอิง