ประกาศกระทรวงพลังงาน
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคำขอ การพิจารณา และการได้รับสิทธิ
เป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต สำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย (ครั้งที่ ๒๔)
โดยที่ได้มีประกาศกระทรวงพลังงานกำหนดให้ดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมสำหรับ แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยจำนวน ๓ แปลงสำรวจ ในรูปแบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตซึ่งอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓/๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งจะเป็นการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงด้านพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานโดยคำแนะนำของคณะกรรมการปิโตรเลียม จึงเห็นควรเปิดให้มีการยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมสำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยจำนวน ๓ แปลงสำรวจดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต พ.ศ. ๒๕๖๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจึงออกประกาศเชิญชวนบริษัทผู้สนใจให้เข้าร่วมยื่นคำขอเพื่อเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตสำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยจำนวน ๓ แปลงสำรวจที่กำหนดให้ดำเนินงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในรูปแบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต โดยมีข้อกำหนด ดังนี้
๑. พื้นที่ที่เปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย จำนวน ๓ แปลงสำรวจ ได้แก่ แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/65 แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G2/65 และแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G3/65 ตามประกาศกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยสำหรับการให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๔ โดยมีรายละเอียดของเขตพื้นที่แปลงสำรวจตามแผนที่หมายเลข ป.๙๘/๒๕๖๔ ตามเอกสารแนบ ๑ ท้ายประกาศฉบับนี้
๒. ระยะเวลาของสัญญาแบ่งปันผลผลิต
๒.๑ ระยะเวลาสำรวจ กำหนดเป็นระยะเวลา ๖ ปี และหากประสงค์ขอต่อระยะเวลาสำรวจ ให้ยื่นคำขอต่อรัฐมนตรีก่อนสิ้นระยะเวลาสำรวจไม่น้อยกว่าหกเดือน พร้อมข้อผูกพันทั้งด้านปริมาณงานและปริมาณเงินสำหรับระยะเวลาสำรวจที่ขอต่อและขอต่อระยะเวลาได้เพียงครั้งเดียวเป็นเวลาไม่เกิน ๓ ปี เมื่อได้ดำเนินงาน ทั้งด้านปริมาณงานและปริมาณเงินครบถ้วนตามสัญญาทุกประการ และได้ตกลงข้อผูกพันในการดำเนินงานสำหรับระยะเวลาสำรวจที่ได้รับการต่อกับรัฐมนตรีเป็นที่เรียบร้อยแล้วก่อนเริ่มระยะเวลาสำรวจที่ได้รับการต่อ
๒.๒ ระยะเวลาผลิต กำหนดเป็นระยะเวลา ๒๐ ปี นับแต่วันถัดจากวันสิ้นระยะเวลาสำรวจ และมีสิทธิได้รับการต่อระยะเวลาได้อีกครั้งหนึ่งเป็นระยะเวลาไม่เกิน ๑๐ ปี ถ้าได้ปฏิบัติตามสัญญาทุกประการ และขอต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมก่อนสิ้นระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมไม่น้อยกว่าหกเดือน ทั้งนี้ ภายใต้ข้อกำหนด ข้อผูกพันและเงื่อนไขที่ใช้อยู่ทั่วไปขณะนั้น
๒.๓ ระยะเวลาการคืนพื้นที่ การคืนพื้นที่แปลงสำรวจให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและสัญญา
ผู้สนใจที่จะยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คุณสมบัติของผู้ขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
ผู้ขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ผู้ขอ) ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ ในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ดังต่อไปนี้
๑.๑ เป็นบริษัท โดยต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้
(๑) ผู้ขอต้องเป็นบริษัทที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
(๒) ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจทางด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
(๓) ต้องไม่เป็นบริษัทที่ทิ้งการดำเนินงานตามข้อผูกพันที่กำหนดในสัมปทานหรือถูกเพิกถอนสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทย
(๔) ต้องไม่เป็นบริษัทที่มีรายชื่อบุคคลหรือนิติบุคคลผู้ถือหุ้น หรือรายชื่อกรรมการและผู้มีอำนาจลงนาม อยู่ในรายชื่อผู้ทิ้งการดำเนินงานตามข้อผูกพันที่กำหนดในสัมปทานหรือถูกเพิกถอนสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทย
๑.๒ มีทุน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญเพียงพอที่จะสำรวจ ผลิต ขาย และจำหน่ายปิโตรเลียม โดยต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้
(๑) สถานะทางการเงินอย่างน้อย ๒ ปีในช่วงระยะเวลา ๓ ปีย้อนหลัง
- มีมูลค่าการถือครองหุ้นในกิจการ (Shareholder’s Equity) ไม่น้อยกว่า ๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามร้อยล้านบาทถ้วน) และ
- มีอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio) ในอัตราส่วนไม่น้อยกว่า ๑
(๒) มีเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา
ในกรณีที่ผู้ขอไม่มีลักษณะครบถ้วนตาม ๑.๒ ต้องมีบริษัทอื่นซึ่งรัฐบาลเชื่อถือ และมีลักษณะตาม ๑.๒ และมีความสัมพันธ์ในด้านทุนหรือการจัดการกับผู้ขอ รับรองที่จะให้ทุน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญเพียงพอที่จะสำรวจ ผลิต ขาย และจำหน่ายปิโตรเลียม
ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ขอประกอบด้วยบริษัทมากกว่าหนึ่งราย ผู้ขอทุกรายต้องมีคุณสมบัติ ตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
ข้อ ๒ การยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
ผู้ขอต้องยื่นคำขอตามแบบ ชธ/ป๑๑ ที่กำหนดโดยกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและการได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามเอกสารแนบ ๒ ท้ายประกาศฉบับนี้ หนึ่งคำขอต่อหนึ่งแปลงสำรวจ และเอกสารการยื่นขอตาม ๒.๑ เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมและวางหลักประกันคำขอตาม ๒.๒ ต่อกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติตั้งแต่วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๕ จนถึงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕ หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง โดยยื่น ณ ที่ทำการกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ อาคารบี ชั้น ๒๑ เลขที่ ๕๕๕/๒ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ในวันและเวลาราชการ
๒.๑ เอกสารการยื่นขอ
๒.๑.๑ เอกสารแสดงคุณสมบัติผู้ขอ
(๑) เอกสารแสดงการเป็นบริษัท
หลักฐานการจดทะเบียนบริษัทที่ขอคัดไว้ไม่เกิน ๓ เดือน และรับรองโดยหน่วยงานที่รับจดทะเบียนที่แสดงถึงการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
(๑.๑) ชื่อบริษัท
(๑.๒) วันที่จัดตั้ง
(๑.๓) ที่อยู่ของสำนักงานใหญ่
(๑.๔) จำนวนทุนจดทะเบียน
(๑.๕) วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัท
(๑.๖) รายชื่อบุคคลหรือนิติบุคคลผู้ถือหุ้นของบริษัท
(๒) หลักฐานแสดงรายชื่อกรรมการและผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัท หรือกรณีมอบอำนาจต้องแสดงหลักฐานการมอบอำนาจ
(๓) หลักฐานแสดงว่ามีทุน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญเพียงพอที่จะสำรวจ ผลิต ขาย และจำหน่ายปิโตรเลียม โดยมีสถาบันที่เชื่อถือได้ออกหนังสือรับรองว่าเป็นความจริง เช่น รายงานประจำปี งบการเงินหรือผลประกอบกิจการซึ่งแสดงถึงมูลค่าการถือครองหุ้นในกิจการ และอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทย้อนหลัง ๓ ปี หลักฐานการถือครองสิทธิในพื้นที่สำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศต่าง ๆ ในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา หลักฐานการถือครองกรรมสิทธิ์ หลักฐานการจัดซื้อจัดจ้าง สัญญาเช่าเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือสัญญาว่าจ้าง เป็นต้น
ในกรณีที่ผู้ขอประกอบด้วยบริษัทมากกว่าหนึ่งราย ผู้ขอทุกรายต้องยื่นเอกสารทั้ง (๑) (๒) และ (๓) ในกรณีที่ผู้ขอไม่มีลักษณะครบถ้วนตาม (๓) ต้องมีบริษัทอื่นซึ่งรัฐบาลเชื่อถือและมีลักษณะครบถ้วนตาม (๓) และมีความสัมพันธ์ในด้านทุนหรือการจัดการกับผู้ขอ ให้การรับรองที่จะให้ทุน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญ เพียงพอที่จะสำรวจ ผลิต ขาย และจำหน่ายปิโตรเลียมแก่ผู้ขอ ทั้งนี้ผู้ขอต้องยื่นหลักฐานตาม (๑) (๒) และ (๓) ของบริษัทผู้ให้การรับรอง และหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ในด้านทุนหรือ การจัดการกับผู้ขอด้วย
ในกรณีที่ผู้ขอและ/หรือบริษัทผู้ให้การรับรองเป็นบริษัทจดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ หลักฐานตาม (๑) (๒) และ (๓) ต้องมีหนังสือรับรองของสถานเอกอัครราชทูต สถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศนั้น ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย หรือต้องมีหนังสือรับรองของสถานเอกอัครราชทูต สถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศนั้น หรือต้องมีหนังสือรับรองของโนตารีปับลิคในประเทศนั้นหรือของบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับโนตารีปับลิคในกรณีที่ประเทศที่เป็นที่ตั้งบริษัทผู้ขอไม่มีโนตารีปับลิค
ผู้ขอต้องยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติดังกล่าว โดยผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทต้องลงนามกำกับเพื่อรับรองความถูกต้องในหน้าแรกของเอกสารทุกฉบับและทุกหน้าที่แสดงคุณสมบัติ และให้ยื่นใส่ซองปิดผนึกและระบุชัดเจนบนหน้าซองว่า “เอกสารแสดงคุณสมบัติ” พร้อมระบุชื่อผู้ขอในฐานะ ผู้ดำเนินงานและชื่อแปลงสำรวจที่ยื่นขอ
๒.๑.๒ เอกสารข้อเสนอ
ผู้ขอต้องยื่นเอกสารข้อเสนอในแต่ละแปลงสำรวจดังต่อไปนี้
(๑) เอกสารข้อเสนอข้อผูกพันในด้านปริมาณงานและปริมาณเงินสำหรับการสำรวจปิโตรเลียม
ข้อเสนอข้อผูกพันในด้านปริมาณงานและปริมาณเงินในการสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแต่ละแปลง ให้เสนอตามแบบการเสนอข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียม ดังแสดงในเอกสารแนบ ๓ ท้ายประกาศฉบับนี้ โดยผู้ขอต้องเสนอข้อผูกพันด้านปริมาณงานและปริมาณเงินตลอดระยะเวลาการสำรวจ (๖ ปี) ไม่ต่ำกว่าข้อผูกพันขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในแต่ละแปลงตามเอกสารแนบ ๔ ท้ายประกาศฉบับนี้ พร้อมเหตุผลสนับสนุนข้อเสนอตามรายงานการศึกษาทางธรณีวิทยาตามหัวข้อที่กำหนดในเอกสารแนบ ๕ ท้ายประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้ ต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดข้อ ๕ (๑) ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต พ.ศ. ๒๕๖๑
(๒) เอกสารข้อเสนอผลประโยชน์ตอบแทนรัฐ
ผลประโยชน์ตอบแทนรัฐให้เสนอตามแบบการเสนอดังแสดง ในเอกสารแนบ ๓ ท้ายประกาศฉบับนี้
(๒.๑) ข้อเสนอเกี่ยวกับอัตราร้อยละของปิโตรเลียมส่วนที่เป็นกำไรที่จะแบ่งให้ผู้รับสัญญา
ผู้ขอต้องเสนอตัวเลขอัตราร้อยละของปิโตรเลียมส่วนที่เป็นกำไรที่จะแบ่งให้แก่ผู้รับสัญญา ซึ่งจะต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบตามที่กฎหมายกำหนด (โดยให้เสนอเป็นเลขจำนวนเต็ม)
(๒.๒) ข้อเสนอเกี่ยวกับการให้ผลประโยชน์พิเศษ
ผู้ขอต้องเสนอผลประโยชน์พิเศษเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากการชำระค่าภาคหลวง และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมตามกฎหมายตลอดระยะเวลาที่ได้รับสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ในแต่ละแปลงสำรวจ ดังนี้
(๑) เงินให้เปล่าในการลงนาม (Signature Bonus) ไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (สามล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาถ้วน) ต่อแปลง โดยผู้ขอที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องชำระเงินให้เปล่าในการลงนามไม่น้อยกว่า ๑๐ วันทำการก่อนวันลงนามในสัญญา
(๒) เงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาปิโตรเลียมในประเทศไทยให้แก่ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (สามล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาถ้วน) ต่อแปลง โดยอาจเสนอชำระเป็นครั้งเดียวหรือแบ่งชำระเป็นรายปี ปีละเท่า ๆ กันในช่วงระยะเวลาสำรวจ (๖ ปี)
(๓) เงินให้เปล่าในการผลิต (Production Bonus) เป็นจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (หนึ่งล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาถ้วน) ต่อแปลง ในแต่ละช่วงของปริมาณผลผลิตรวมของปิโตรเลียมสะสมที่ ๒ ล้านบาร์เรล ๔ ล้านบาร์เรล และ ๖ ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ตามลำดับ (เพื่อประโยชน์ในการกำหนดปริมาณปิโตรเลียม ให้ถือว่าปริมาณความร้อนของก๊าซธรรมชาติจำนวน ๕.๗๓ ล้านบีทียู มีค่าเทียบเท่าปริมาณน้ำมันดิบหนึ่งบาร์เรล)
ทั้งนี้ ผู้ขออาจจะเสนอให้ผลประโยชน์พิเศษอื่น ๆ เช่น การให้เงินทุนการศึกษา ทุนฝึกอบรม เงินสนับสนุนการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่น เป็นต้น โดยอาจเสนอชำระเป็นครั้งเดียวหรือรายปีตลอดอายุสัญญา
ผู้ขอต้องยื่นเอกสารข้อเสนอเกี่ยวกับข้อผูกพันในด้านปริมาณงานและปริมาณเงินในการสำรวจปิโตรเลียม และข้อเสนอผลประโยชน์ตอบแทนรัฐดังกล่าว โดยผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทต้องลงนามกำกับเพื่อรับรองความถูกต้องในเอกสารทุกฉบับและทุกหน้า และให้ยื่นใส่ซองปิดผนึกที่ระบุชัดเจน บนหน้าซองว่า “ข้อเสนอทางด้านเทคนิคและผลประโยชน์ตอบแทนรัฐ” พร้อมระบุชื่อผู้ขอในฐานะผู้ดำเนินงานและชื่อแปลงสำรวจที่ยื่นขอ และยื่นแยกจากซองเอกสารแสดงคุณสมบัติตาม ๒.๑.๑
๒.๒ ค่าธรรมเนียมและการวางหลักประกันคำขอ
๒.๒.๑ ค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอฉบับละ ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ต่อหนึ่งคำขอต่อหนึ่งแปลงสำรวจ โดยจ่ายเป็นเงินสดเท่านั้นในวันที่ยื่นคำขอ และเงินค่าธรรมเนียมนี้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะไม่คืนให้ไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
๒.๒.๒ หลักประกันคำขอจำนวน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามล้านบาทถ้วน) ต่อหนึ่งคำขอต่อหนึ่งแปลงสำรวจ โดยใช้หนังสือค้ำประกันแบบไม่มีเงื่อนไข (Unconditional Bank Guarantee) จากธนาคารพาณิชย์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทย และต้องมีระยะเวลาค้ำประกันไม่น้อยกว่า ๑ ปีนับแต่วันที่ยื่นขอ ให้แก่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
ผู้ขอจะได้รับคืนหลักประกันคำขอเมื่อได้รับแจ้งว่าไม่ได้รับคัดเลือกให้ได้รับสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ได้รับการพิจารณาให้ได้รับสิทธิและมาลงนามรับสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแล้ว
ทั้งนี้ ให้ผู้ขอมีหนังสือขอรับคืนหลักประกันคำขอดังกล่าว และกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะคืนหลักประกันคำขอภายใน ๑๕ วันทำการนับแต่วันที่ได้รับหนังสือขอรับคืนหลักประกันคำขอนั้น
ข้อ ๓ การพิจารณาให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
๓.๑ คำขอที่ได้ยื่นโดยครบถ้วนและถูกต้องตามข้อ 2 จะเป็นคำขอที่สมบูรณ์และได้รับการพิจารณา
๓.๒ มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ตามข้อ ๑
๓.๓ ผู้ขอที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติแล้ว และได้เสนอข้อผูกพันด้านปริมาณงานและปริมาณเงินในการสำรวจปิโตรเลียม (๖ ปีแรก) และผลประโยชน์ตอบแทนรัฐที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในแต่ละแปลงสำรวจ จึงจะมีสิทธิเข้ารับการพิจารณาคัดเลือก โดยใช้หลักเกณฑ์ตามข้อ ๓.๔ และข้อ ๓.๕ ต่อไป
๓.๔ กรณีที่แปลงใดมีผู้ผ่านเกณฑ์ตาม ๓.๓ มากกว่าหนึ่งราย การพิจารณาคัดเลือกจะใช้วิธีเปรียบเทียบการให้คะแนนของแต่ละคำขอในเรื่องต่าง ๆ ในข้อเสนอที่เป็นส่วนเพิ่มจากเงื่อนไขที่กำหนด ดังนี้
(๑) ข้อผูกพันด้านปริมาณงานและปริมาณเงินของโครงการสำรวจปิโตรเลียม | ๖๕ คะแนน |
(๒) ผลประโยชนน์ตอบแทนรัฐ | |
(๒.๑) อัตราร้อยละของปิโตรเลียมส่วนที่เป็นกำไรที่จะแบ่งให้ผู้รับสัญญา | ๒๕ คะแนน |
(๒.๒) ผลประโยชน์พิเศษ | ๑๐ คะแนน |
ผู้ขอที่ได้คะแนนรวมสูงสุดจะได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ได้รับสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของแปลงนั้น
๓.๕ ในการพิจารณาข้อผูกพันการสำรวจปิโตรเลียมจะพิจารณาจากปริมาณงานที่เสนอว่ามีความสอดคล้องกับเหตุผลทางธรณีวิทยาของพื้นที่แปลงสำรวจ และปริมาณเงินที่เสนอมีความเหมาะสมกับปริมาณงานที่จะกระทำหรือไม่
๓.๖ กรณีที่แปลงใดมีผู้ยื่นขอเพียงหนึ่งรายหรือมีผู้ผ่านเกณฑ์ตาม 3.3 เพียงหนึ่งราย ทางราชการสงวนสิทธิที่จะพิจารณายกเลิก หรือให้ หรือไม่ให้สิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตของแปลงนั้นก็ได้ตามที่ทางราชการเห็นสมควร ทั้งนี้ ผู้ขอจะไม่เรียกร้องค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายใด ๆ ต่อทางราชการทั้งสิ้น
ข้อ ๔ การได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต
กระทรวงพลังงานจะมอบสิทธิให้ผู้ขอที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตโดยออกเป็นสัญญาแบ่งปันผลผลิตหนึ่งสัญญาต่อหนึ่งแปลงสำรวจ ทั้งนี้ สัญญาแบ่งปันผลผลิตเป็นไปตามแบบ ชธ/ป๑๒ ที่กำหนดโดยกฎกระทรวงกำหนดแบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามเอกสารแนบ ๖ ท้ายประกาศฉบับนี้
เมื่อกระทรวงพลังงานได้ประกาศผลการพิจารณาให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และได้แจ้งกำหนดวัน เวลา และสถานที่เพื่อลงนามในสัญญาแบ่งปันผลผลิตแก่ผู้ขอที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังที่อยู่ที่ระบุไว้ในเอกสารยื่นคำขอให้ผู้ขอที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตดำเนินการดังต่อไปนี้
๔.๑ ผู้ขอที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตต้องวางหลักประกันการดำเนินงานต่อกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เพื่อให้กระทรวงพลังงานมั่นใจว่าจะสามารถดำเนินงานตามข้อผูกพันที่กำหนด ทั้งนี้ กำหนดให้วางประกันเป็นจำนวนเงินเท่ากับปริมาณเงินตามข้อผูกพันการสำรวจที่ได้เสนอและผลประโยชน์พิเศษที่เสนอให้แก่รัฐ (ยกเว้นเงินให้เปล่าในการลงนามและเงินให้เปล่าในการผลิต) ในช่วงการสำรวจทั้ง ๖ ปี โดยให้ใช้หนังสือค้ำประกันแบบไม่มีเงื่อนไข (Unconditional Bank Guarantee) จากธนาคารพาณิชย์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทย ฉบับเดียวหรือหลายฉบับรวมกันก็ได้ แต่รวมกันแล้วต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าปริมาณเงินตามข้อผูกพันการสำรวจที่ได้เสนอและผลประโยชน์พิเศษที่เสนอให้แก่รัฐ หนังสือค้ำประกันนี้มีระยะเวลาค้ำประกันไม่น้อยกว่า ๖ ปีนับแต่วันลงนามในสัญญา
ผู้ขอที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตต้องวางหลักประกันการดำเนินงานให้แก่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติอย่างน้อย ๑๐ วันทำการก่อนวันลงนามในสัญญาแบ่งปันผลผลิต
หากผู้ขอที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตมิได้วางหลักประกันการดำเนินงานตามที่กำหนด หรือมิได้มาลงลายมือชื่อรับสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร จะถือว่าไม่ประสงค์จะรับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต และยินยอมให้ริบหลักประกันคำขอ ทั้งนี้ ผู้ขอที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต จะไม่เรียกร้องค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายหรือสิทธิใด ๆ จากทางราชการทั้งสิ้น
หลักประกันการดำเนินงานจะคืนให้แก่ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตทั้งหมดเมื่อได้ปฏิบัติตามข้อผูกพันการสำรวจและผลประโยชน์พิเศษครบถ้วน ทั้งนี้ ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตสามารถขอปรับลดวงเงินค้ำประกันการดำเนินงานเมื่อได้ดำเนินงานตามข้อผูกพันการสำรวจและผลประโยชน์พิเศษในแต่ละปี
เมื่อผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตมีหนังสือแจ้งความประสงค์ขอรับคืนหลักประกันการดำเนินงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะคืนหลักประกันการดำเนินงานดังกล่าวภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติตรวจสอบแล้วว่าปฏิบัติงานครบถ้วน
หากผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตไม่สามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันที่กำหนดหรือเงื่อนไขการคืนหลักประกันการดำเนินงานได้ กระทรวงพลังงานสงวนสิทธิในการบอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันการดำเนินงาน
๔.๒ ผู้ขอที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตต้องชำระเงินให้เปล่าในการลงนามตามที่ได้เสนอไว้ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๐ วันทำการก่อนวันลงนามในสัญญา โดยให้ชำระเป็นเช็คหรือดราฟท์ที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่ายกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ซึ่งเป็นเช็คหรือดราฟท์ลงวันที่ที่ใช้เช็คหรือดราฟท์นั้นชำระต่อเจ้าหน้าที่ หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน ๓ วันทำการ และออกโดยธนาคารพาณิชย์เฉพาะสาขาในประเทศไทยเท่านั้น
หากผู้ขอที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตมิได้ชำระเงินให้เปล่า ในการลงนามตามที่กำหนด จะถือว่าไม่ประสงค์จะรับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต และยินยอมให้ริบหลักประกันคำขอ ทั้งนี้ ผู้ขอที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต จะไม่เรียกร้องค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายหรือสิทธิใด ๆ จากทางราชการทั้งสิ้น
ข้อ ๕ ข้อสงวนสิทธิและอื่น ๆ
๕.๑ ทางราชการสงวนสิทธิที่จะไม่รับพิจารณาคำขอใด ๆ ของผู้ขอในกรณี
๕.๑.๑ ยื่นคำขอเมื่อพ้นจากกำหนดเวลาตามข้อ ๒
๕.๑.๒ ยื่นเอกสารไม่ถูกต้องครบถ้วนตาม ๒.๑
๕.๑.๓ ไม่ชำระค่าธรรมเนียมหรือไม่วางหลักประกันตาม ๒.๒
๕.๑.๔ แสดงเอกสารหรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือเป็นเท็จ
ทั้งนี้ ผู้ขอจะไม่เรียกร้องค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายใด ๆ ต่อทางราชการทั้งสิ้น
๕.๒ ทางราชการสงวนสิทธิที่จะพิจารณายกเลิก หรือให้ หรือไม่ให้สิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตในแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยตามประกาศฉบับนี้แก่ผู้ขอรายหนึ่งรายใดก็ได้ และผู้ขอจะไม่เรียกร้องค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายใด ๆ จากทางราชการ
๕.๓ คำขอ ข้อกำหนดและเงื่อนไข รวมถึงข้อเสนอที่ผู้ขอเสนอตามประกาศฉบับนี้จะถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาแบ่งปันผลผลิต
๕.๔ การคืนหลักประกันใด ๆ ให้แก่ผู้ขอ เป็นการคืนเฉพาะหลักประกันโดยไม่มีดอกเบี้ย
๕.๕ ผู้ได้รับสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจะต้องดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติปิโตรเลียมและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
๕.๖ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมีสิทธิเรียกให้ผู้ขอชี้แจงหรือยื่นเอกสารชี้แจงเพิ่มเติมในรายละเอียด ทั้งนี้ ต้องไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกับผู้ขอรายอื่น ๆ
๕.๗ ผู้ขอต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการยื่นขอเองทั้งสิ้น และไม่สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายใด ๆ ต่อทางราชการได้
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.dmf.go.th ในกรณีที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม สามารถสอบถามมายังกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ PetroleumBidding@dmf.go.th
ประกาศ ณ วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
แผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของพื้นที่แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย
ที่เปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ครั้งที่ ๒๔ จำนวน ๓ แปลงสำรวจ
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/65
แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/65
มีพื้นที่ ๘,๔๘๗.๒๐ ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น ๒ พื้นที่ ดังนี้
๑ แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/65 พื้นที่ A มีพื้นที่ประมาณ ๘,๒๙๘.๔๙ ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วยเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุดที่ ๑ ถึงจุดที่ ๗๓ ซึ่งมีพิกัดภูมิศาสตร์ ดังต่อไปนี้
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
๑ | ๐๙° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๐° ๕๒' ๒๕" |
๒ | ๑๑° ๑๕' ๐๐" | ๑๐๐° ๕๒' ๒๕" |
๓ | ๑๑° ๑๕' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๗' ๐๐" |
๔ | ๑๑° ๑๒' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๗' ๐๐" |
๕ | ๑๑° ๑๒' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๖' ๐๐" |
๖ | ๑๑° ๑๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๖' ๐๐" |
๗ | ๑๑° ๑๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๔' ๐๐" |
๘ | ๑๑° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๔' ๐๐" |
๙ | ๑๑° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๓' ๑๒.๗๒๗" |
๑๐ | ๑๐° ๕๙' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๓' ๐๐" |
๑๑ | ๑๐° ๔๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๗' ๕๕" |
๑๒ | ๑๐° ๔๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๔' ๐๐" |
๑๓ | ๑๐° ๕๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๔' ๐๐" |
๑๔ | ๑๐° ๕๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๐' ๐๐" |
๑๕ | ๑๐° ๕๑' ๐๕" | ๑๐๑° ๑๐' ๐๐" |
๑๖ | ๑๐° ๕๑' ๐๕" | ๑๐๑° ๐๘' ๑๕.๙๓" |
๑๗ | ๑๐° ๔๕' ๓.๔๘" | ๑๐๑° ๐๘' ๑๕.๙๓" |
๑๘ | ๑๐° ๔๕' ๓.๔๘" | ๑๐๑° ๐๗' ๑๐.๑๑" |
๑๙ | ๑๐° ๓๓' ๒๕" | ๑๐๑° ๐๗' ๑๐.๑๑" |
๒๐ | ๑๐° ๓๓' ๒๕" | ๑๐๑° ๐๘' ๔๐" |
๒๑ | ๑๐° ๓๐' ๕๒" | ๑๐๑° ๐๘' ๔๐" |
๒๒ | ๑๐° ๓๐' ๕๒" | ๑๐๑° ๐๙' ๓๐" |
๒๓ | ๑๐° ๓๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๙' ๓๐" |
๒๔ | ๑๐° ๓๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๐' ๐๐" |
๒๕ | ๑๐° ๒๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๐' ๐๐" |
๒๖ | ๑๐° ๒๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๑' ๓๐" |
๒๗ | ๑๐° ๒๑' ๓๐" | ๑๐๑° ๑๑' ๓๐" |
๒๘ | ๑๐° ๒๑' ๓๐" | ๑๐๑° ๑๒' ๐๐" |
๒๙ | ๑๐° ๑๒' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๒' ๐๐" |
๓๐ | ๑๐° ๑๒' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๐' ๐๐" |
๓๑ | ๐๙° ๕๘' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๐' ๐๐" |
๓๒ | ๐๙° ๕๘' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๓' ๐๐" |
๓๓ | ๑๐° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๓' ๐๐" |
๓๔ | ๑๐° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๘' ๐๐" |
๓๕ | ๑๐° ๑๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๘' ๐๐" |
๓๖ | ๑๐° ๑๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๔' ๐๐" |
๓๗ | ๑๐° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๔' ๐๐" |
๓๘ | ๑๐° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๙' ๐๐" |
๓๙ | ๐๙° ๕๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๙' ๐๐" |
๔๐ | ๐๙° ๕๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๑' ๒๕" |
๔๑ | ๐๙° ๕๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๑' ๒๕" |
๔๒ | ๐๙° ๕๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๖' ๐๐" |
๔๓ | ๐๙° ๔๙' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๖' ๐๐" |
๔๔ | ๐๙° ๔๙' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๓' ๐๐" |
๔๕ | ๐๙° ๔๒' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๓' ๐๐" |
๔๖ | ๐๙° ๔๒' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๐' ๐๐" |
๔๗ | ๐๙° ๔๘' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๐' ๐๐" |
๔๘ | ๐๙° ๔๘' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๘' ๐๐" |
๔๙ | ๐๙° ๕๒' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๘' ๐๐" |
๕๐ | ๐๙° ๕๒' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๕' ๐๐" |
๕๑ | ๐๙° ๓๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๕' ๐๐" |
๕๒ | ๐๙° ๓๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๗' ๐๐" |
๕๓ | ๐๙° ๓๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๗' ๐๐" |
๕๔ | ๐๙° ๓๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๒' ๐๐" |
๕๕ | ๐๙° ๒๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๒' ๐๐" |
๕๖ | ๐๙° ๒๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๐' ๐๐" |
๕๗ | ๐๙° ๒๕' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๐' ๐๐" |
๕๘ | ๐๙° ๒๕' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๑' ๐๐" |
๕๙ | ๐๙° ๒๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๑' ๐๐" |
๖๐ | ๐๙° ๒๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๓' ๐๐" |
๖๑ | ๐๙° ๑๘' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๓' ๐๐" |
๖๒ | ๐๙° ๑๘' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๔' ๐๐" |
๖๓ | ๐๙° ๑๗' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๔' ๐๐" |
๖๔ | ๐๙° ๑๗' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๕' ๐๐" |
๖๕ | ๐๙° ๑๕' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๕' ๐๐" |
๖๖ | ๐๙° ๑๕' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๑' ๐๐" |
๖๗ | ๐๙° ๑๑' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๑' ๐๐" |
๖๘ | ๐๙° ๑๑' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๒' ๐๐" |
๖๙ | ๐๙° ๐๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๒' ๐๐" |
๗๐ | ๐๙° ๐๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๒' ๓๐" |
๗๑ | ๐๙° ๐๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๒' ๓๐" |
๗๒ | ๐๙° ๐๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๔' ๐๐" |
๗๓ | ๐๙° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๔' ๐๐" |
๒ แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/65 พื้นที่ B มีพื้นที่ ๑๘๘.๗๑ ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วยเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุดที่ ๗๔ ถึงจุดที่ ๗๙ ซึ่งมีพิกัดภูมิศาสตร์ ดังต่อไปนี้
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
๗๔ | ๑๐° ๒๘' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๐' ๐๐" |
๗๕ | ๑๐° ๓๙' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๐' ๐๐" |
๗๖ | ๑๐° ๓๙' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๐' ๓๕.๓๓๖" |
๗๗ | ๑๐° ๑๘' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๘' ๓๓.๔๓๙" |
๗๘ | ๑๐° ๑๘' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๔' ๐๐" |
๗๙ | ๑๐° ๒๘' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๔' ๐๐" |
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G2/65
แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G2/65
มีพื้นที่ ๑๕,๐๓๐.๑๔ ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วยเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุดที่ ๑ ถึงจุดที่ ๔๔ ซึ่งมีพิกัดภูมิศาสตร์ ดังต่อไปนี้
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
๑ | ๐๘° ๐๕' ๔๕" | ๑๐๐° ๕๒' ๒๕" |
๒ | ๐๙° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๐° ๕๒' ๒๕" |
๓ | ๐๙° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๐' ๒๐" |
๔ | ๐๘° ๔๑' ๒๐" | ๑๐๑° ๑๐' ๒๐" |
๕ | ๐๘° ๔๑' ๒๐" | ๑๐๑° ๑๓' ๐๐" |
๖ | ๐๘° ๓๙' ๔๕" | ๑๐๑° ๑๓' ๐๐" |
๗ | ๐๘° ๓๙' ๔๕" | ๑๐๑° ๑๕' ๔๕" |
๘ | ๐๘° ๓๙' ๑๕" | ๑๐๑° ๑๕' ๔๕" |
๙ | ๐๘° ๓๙' ๑๕" | ๑๐๑° ๑๖' ๑๕" |
๑๐ | ๐๘° ๓๘' ๓๐" | ๑๐๑° ๑๖' ๑๕" |
๑๑ | ๐๘° ๓๘' ๓๐" | ๑๐๑° ๑๖' ๔๕" |
๑๒ | ๐๘° ๓๕' ๔๕" | ๑๐๑° ๑๖' ๔๕" |
๑๓ | ๐๘° ๓๕' ๔๕" | ๑๐๑° ๑๗' ๑๕" |
๑๔ | ๐๘° ๓๑' ๔๕" | ๑๐๑° ๑๗' ๑๕" |
๑๕ | ๐๘° ๓๑' ๔๕" | ๑๐๑° ๑๘' ๐๐" |
๑๖ | ๐๘° ๒๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๘' ๐๐" |
๑๗ | ๐๘° ๒๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๐' ๒๐" |
๑๘ | ๐๘° ๒๑' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๐' ๒๐" |
๑๙ | ๐๘° ๒๑' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๒' ๓๐" |
๒๐ | ๐๘° ๑๙' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๒' ๓๐" |
๒๑ | ๐๘° ๑๙' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๖' ๐๐" |
๒๒ | ๐๘° ๒๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๖' ๐๐" |
๒๓ | ๐๘° ๒๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๔' ๐๐" |
๒๔ | ๐๘° ๒๙' ๓๐" | ๑๐๑° ๒๔' ๐๐" |
๒๕ | ๐๘° ๒๙' ๓๐" | ๑๐๑° ๒๗' ๐๐" |
๒๖ | ๐๘° ๓๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๗' ๐๐" |
๒๗ | ๐๘° ๓๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๓๐' ๐๐" |
๒๘ | ๐๘° ๓๑' ๐๐" | ๑๐๑° ๓๐' ๐๐" |
๒๙ | ๐๘° ๓๑' ๐๐" | ๑๐๑° ๓๒' ๐๐" |
๓๐ | ๐๘° ๒๗' ๓๐" | ๑๐๑° ๓๒' ๐๐" |
๓๑ | ๐๘° ๒๗' ๓๐" | ๑๐๑° ๓๔' ๐๐" |
๓๒ | ๐๘° ๒๕' ๐๐" | ๑๐๑° ๓๔' ๐๐" |
๓๓ | ๐๘° ๒๕' ๐๐" | ๑๐๑° ๓๖' ๐๐" |
๓๔ | ๐๘° ๒๒' ๑๕" | ๑๐๑° ๓๖' ๐๐" |
๓๕ | ๐๘° ๒๒' ๑๕" | ๑๐๑° ๔๐' ๔๔" |
๓๖ | ๐๘° ๒๓' ๕๐" | ๑๐๑° ๔๐' ๔๔" |
๓๗ | ๐๘° ๒๓' ๕๐" | ๑๐๑° ๔๑' ๔๑" |
๓๘ | ๐๘° ๒๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๔๑' ๔๑" |
๓๙ | ๐๘° ๒๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๔๓' ๐๐" |
๔๐ | ๐๘° ๒๒' ๑๕" | ๑๐๑° ๔๓' ๐๐" |
๔๑ | ๐๘° ๒๒' ๑๕" | ๑๐๑° ๔๕' ๐๐" |
๔๒ | ๐๗° ๐๕' ๓๗" | ๑๐๑° ๔๕' ๐๐" |
๔๓ | ๐๗° ๐๕' ๓๗" | ๑๐๑° ๐๐' ๐๐" |
๔๔ | ๐๘° ๐๕' ๔๕" | ๑๐๑° ๐๐' ๐๐" |
ทั้งนี้ โดยไม่รวมพื้นที่จำนวน ๑ พื้นที่ ที่อยู่ภายในแปลงสำรวจ ดังต่อไปนี้
พื้นที่ล้อมรอบด้วยเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุดที่ ๔๕ ถึงจุดที่ ๖๐ ซึ่งมีพิกัดภูมิศาสตร์ ดังต่อไปนี้
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
๔๕ | ๐๗° ๕๐' ๓๐" | ๑๐๑° ๑๙' ๐๐" |
๔๖ | ๐๗° ๕๓' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๙' ๐๐" |
๔๗ | ๐๗° ๕๓' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๙' ๓๐" |
๔๘ | ๐๗° ๕๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๙' ๓๐" |
๔๙ | ๐๗° ๕๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๒' ๐๐" |
๕๐ | ๐๘° ๐๑' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๒' ๐๐" |
๕๑ | ๐๘° ๐๑' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๓' ๐๐" |
๕๒ | ๐๘° ๐๒' ๑๕" | ๑๐๑° ๒๓' ๐๐" |
๕๓ | ๐๘° ๐๒' ๑๕" | ๑๐๑° ๒๕' ๐๐" |
๕๔ | ๐๘° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๕' ๐๐" |
๕๕ | ๐๘° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๔' ๐๐" |
๕๖ | ๐๗° ๕๕' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๔' ๐๐" |
๕๗ | ๐๗° ๕๕' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๕' ๐๐" |
๕๘ | ๐๗° ๕๓' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๕' ๐๐" |
๕๙ | ๐๗° ๕๓' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๓' ๐๐" |
๖๐ | ๐๗° ๕๐' ๓๐" | ๑๐๑° ๒๓' ๐๐" |
แผนที่พื้นที่แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G3/65
แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G3/65
มีพื้นที่ ๑๑,๖๔๖.๖๗ ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น ๒ พื้นที่ ดังนี้
๑ แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G3/65 พื้นที่ A มีพื้นที่ประมาณ ๑๑.๐๒๘.๒๒ ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วยเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุดที่ ๑ ถึงจุดที่ ๕๒ ซึ่งมีพิกัดภูมิศาสตร์ ดังต่อไปนี้
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
๑ | ๐๗° ๐๕' ๓๗" | ๑๐๑° ๔๕' ๐๐" |
๒ | ๐๘° ๐๘' ๐๐" | ๑๐๑° ๔๕' ๐๐" |
๓ | ๐๘° ๐๘' ๐๐" | ๑๐๑° ๔๘' ๐๐" |
๔ | ๐๘° ๐๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๔๘' ๐๐" |
๕ | ๐๘° ๐๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๕๐' ๐๐" |
๖ | ๐๘° ๐๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๕๐' ๐๐" |
๗ | ๐๘° ๐๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๕๒' ๐๐" |
๘ | ๐๘° ๐๒' ๐๐" | ๑๐๑° ๕๒' ๐๐" |
๙ | ๐๘° ๐๒' ๐๐" | ๑๐๑° ๕๔' ๐๐" |
๑๐ | ๐๘° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๕๔' ๐๐" |
๑๑ | ๐๘° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๕๘' ๐๐" |
๑๒ | ๐๘° ๐๙' ๐๐" | ๑๐๑° ๕๘' ๐๐" |
๑๓ | ๐๘° ๐๙' ๐๐" | ๑๐๑° ๕๔' ๐๐" |
๑๔ | ๐๘° ๑๒' ๐๐" | ๑๐๑° ๕๔' ๐๐" |
๑๕ | ๐๘° ๑๒' ๐๐" | ๑๐๑° ๕๐' ๐๐" |
๑๖ | ๐๘° ๑๓' ๐๐" | ๑๐๑° ๕๐' ๐๐" |
๑๗ | ๐๘° ๑๓' ๐๐" | ๑๐๑° ๔๘' ๐๐" |
๑๘ | ๐๘° ๑๗' ๓๐" | ๑๐๑° ๔๘' ๐๐" |
๑๙ | ๐๘° ๑๗' ๓๐" | ๑๐๑° ๔๕' ๐๐" |
๒๐ | ๐๘° ๒๒' ๑๕" | ๑๐๑° ๔๕' ๐๐" |
๒๑ | ๐๘° ๒๒' ๑๕" | ๑๐๑° ๕๒' ๐๐" |
๒๒ | ๐๘° ๑๕' ๐๐" | ๑๐๑° ๕๒' ๐๐" |
๒๓ | ๐๘° ๑๕' ๐๐" | ๑๐๒° ๐๖' ๐๐" |
๒๔ | ๐๘° ๐๔' ๐๐" | ๑๐๒° ๐๖' ๐๐" |
๒๕ | ๐๘° ๐๔' ๐๐" | ๑๐๒° ๑๐' ๐๐" |
๒๖ | ๐๘° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๒° ๑๐' ๐๐" |
๒๗ | ๐๘° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๒° ๑๖' ๐๐" |
๒๘ | ๐๗° ๕๘' ๐๐" | ๑๐๒° ๑๖' ๐๐" |
๒๙ | ๐๗° ๕๘' ๐๐" | ๑๐๒° ๑๘' ๐๐" |
๓๐ | ๐๗° ๕๖' ๐๐" | ๑๐๒° ๑๘' ๐๐" |
๓๑ | ๐๗° ๕๖' ๐๐" | ๑๐๒° ๒๐' ๐๐" |
๓๒ | ๐๗° ๕๔' ๐๐" | ๑๐๒° ๒๐' ๐๐" |
๓๓ | ๐๗° ๕๔' ๐๐" | ๑๐๒° ๒๒' ๐๐" |
๓๔ | ๐๗° ๕๐' ๐๐" | ๑๐๒° ๒๒' ๐๐" |
๓๕ | ๐๗° ๕๐' ๐๐" | ๑๐๒° ๒๔' ๐๐" |
๓๖ | ๐๗° ๔๘' ๐๐" | ๑๐๒° ๒๔' ๐๐" |
๓๗ | ๐๗° ๔๘' ๐๐" | ๑๐๒° ๒๖' ๐๐" |
๓๘ | ๐๗° ๔๔' ๐๐" | ๑๐๒° ๒๖' ๐๐" |
๓๙ | ๐๗° ๔๔' ๐๐" | ๑๐๒° ๒๘' ๐๐" |
๔๐ | ๐๗° ๔๐' ๐๐" | ๑๐๒° ๒๘' ๐๐" |
๔๑ | ๐๗° ๔๐' ๐๐" | ๑๐๒° ๓๐' ๐๐" |
๔๒ | ๐๗° ๓๔' ๐๐" | ๑๐๒° ๓๐' ๐๐" |
๔๓ | ๐๗° ๓๔' ๐๐" | ๑๐๒° ๓๒' ๐๐" |
๔๔ | ๐๗° ๒๘' ๐๐" | ๑๐๒° ๓๒' ๐๐" |
๔๕ | ๐๗° ๒๘' ๐๐" | ๑๐๒° ๓๔' ๐๐" |
๔๖ | ๐๗° ๒๐' ๐๐" | ๑๐๒° ๓๔' ๐๐" |
๔๗ | ๐๗° ๒๐' ๐๐" | ๑๐๒° ๓๗' ๐๐" |
๔๘ | ๐๗° ๑๐' ๐๐" | ๑๐๒° ๒๘' ๕๔" |
๔๙ | ๐๖° ๕๐' ๐๐" | ๑๐๒° ๒๑' ๑๒" |
๕๐ | ๐๖° ๓๘' ๕๔" | ๑๐๒° ๑๕' ๒๔" |
๕๑ | ๐๖° ๓๘' ๕๔" | ๑๐๑° ๕๙' ๐๐" |
๕๒ | ๐๗° ๐๕' ๓๗" | ๑๐๑° ๕๙' ๐๐" |
๒ แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G3/65 พื้นที่ B มีพื้นที่ ๖๑๘.๔๕ ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วยเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุดที่ ๕๓ ถึงจุดที่ ๖๘ ซึ่งมีพิกัดภูมิศาสตร์ ดังต่อไปนี้
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
๕๓ | ๐๗° ๓๖' ๐๐" | ๑๐๒° ๓๖' ๐๐" |
๕๔ | ๐๗° ๔๘' ๐๐" | ๑๐๒° ๓๖' ๐๐" |
๕๕ | ๐๗° ๔๘' ๐๐" | ๑๐๒° ๔๔' ๐๐" |
๕๖ | ๐๗° ๔๔' ๐๐" | ๑๐๒° ๔๔' ๐๐" |
๕๗ | ๐๗° ๔๔' ๐๐" | ๑๐๒° ๔๖' ๐๐" |
๕๘ | ๐๗° ๔๐' ๐๐" | ๑๐๒° ๔๖' ๐๐" |
๕๙ | ๐๗° ๔๐' ๐๐" | ๑๐๒° ๕๒' ๐๐" |
๖๐ | ๐๗° ๓๘' ๑๖" | ๑๐๒° ๕๒' ๐๐" |
๖๑ | ๐๗° ๓๘' ๑๖" | ๑๐๒° ๔๗' ๐๒" |
๖๒ | ๐๗° ๓๖' ๐๐" | ๑๐๒° ๔๗' ๐๒" |
๖๓ | ๐๗° ๓๖' ๐๐" | ๑๐๒° ๔๔' ๐๐" |
๖๔ | ๐๗° ๒๗' ๔๖" | ๑๐๒° ๔๔' ๐๐" |
๖๕ | ๐๗° ๒๓' ๒๖" | ๑๐๒° ๔๐' ๐๐" |
๖๖ | ๐๗° ๒๘' ๐๐" | ๑๐๒° ๔๐' ๐๐" |
๖๗ | ๐๗° ๒๘' ๐๐" | ๑๐๒° ๓๘' ๐๐" |
๖๘ | ๐๗° ๓๖' ๐๐" | ๑๐๒° ๓๘' ๐๐" |
ข้อกำหนดข้อผูกพันขั้นต่ำในด้านปริมาณงานและปริมาณเงินในการสำรวจปิโตรเลียม
แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/65
แปลง สำรวจ |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ระยะห่างจากชายฝั่งโดยประมาณ (กม.) |
ปริมาณงานและปริมาณเงินขั้นต่ำในการสำรวจปิโตรเลียม | |||
การสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน* (ตร.กม. หรือ กม.) |
ค่าใช้จ่รายรวมของการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน** (ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) |
หลุมสำรวจ*** (หลุม) |
ค่าใช้จ่ายรวมของหลุมสำรวจ**** (ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) |
|||
G1/65 | ๘,๔๘๗.๒๐ | ประจวบคีรีขันธ์ ๑๕๒ กม. ชุมพร ๑๗๓ กม. สุราษฎร์ธานี ๑๒๘ กม. |
แบบ ๓ มิติ ≥ ๒๕๐ ตร.กม. และ/หรือ แบบ ๒ มิติ โดยคิดเทียบเท่าแบบ ๓ มิติ |
๑.๕ | ๓ | ๗.๕ |
หมายเหตุ | |
* | เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบปริมาณงานการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนกับข้อกำหนดขั้นต่ำของรัฐ ให้ถือว่าการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ ๒ มิติ ๘ กม. เท่ากับแบบ ๓ มิติ ๑ ตร.กม. |
** | ค่าใช้จ่ายในการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน - แบบ ๒ มิติ ไม่น้อยกว่า ๘๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา/กม. - แบบ ๓ มิติ ไม่น้อยกว่า ๖,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา/ตร.กม. |
*** | ข้อกำหนดผูกมัดเกี่ยวกับการเจาะหลุมสำรวจสำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/65 - หลุมสำรวจ ๒ หลุม ต้องเจาะภายในขอบเขตพื้นที่ ๑ และพื้นที่ ๒ พื้นที่ละ ๑ หลุม ดังแผนที่และจุดพิกัดภูมิศาสตร์ตามรูปที่ ๑ และ ตารางที่ ๑ - หลุมสำรวจอีก ๑ หลุม จะทำการเจาะในบริเวณใดของแปลงสำรวจดังกล่าวก็ได้ |
**** | ค่าใช้จ่ายต่อหลุมสำรวจ ไม่น้อยกว่า ๒.๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา |
รูปที่ ๑ แสดงขอบเขตพื้นที่ ๑ และพื้นที่ ๒ สำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/65
ตารางที่ ๑ พิกัดภูมิศาสตร์แสดงขอบเขตพื้นที่ ๑ และพื้นที่ ๒ สำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/65
พื้นที่ ๑ สำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/65 พื้นที่ A
มีขนาดพื้นที่ ๓,๖๙๗.๒๘ ตารางกิโลเมตร ดังแสดงขอบเขตด้วยพิกัดภูมิศาสตร์จำนวน ๓๑ จุด
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
๑ | ๑๐° ๑๐' ๐๐" | ๑๐๐° ๕๒' ๒๕" |
๒ | ๑๑° ๑๕' ๐๐" | ๑๐๐° ๕๒' ๒๕" |
๓ | ๑๑° ๑๕' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๗' ๐๐" |
๔ | ๑๑° ๑๒' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๗' ๐๐" |
๕ | ๑๑° ๑๒' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๖' ๐๐" |
๖ | ๑๑° ๑๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๖' ๐๐" |
๗ | ๑๑° ๑๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๔' ๐๐" |
๘ | ๑๑° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๔' ๐๐" |
๙ | ๑๑° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๓' ๑๒.๗๒๗" |
๑๐ | ๑๐° ๕๙' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๓' ๐๐" |
๑๑ | ๑๐° ๔๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๗' ๕๕" |
๑๒ | ๑๐° ๔๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๔' ๐๐" |
๑๓ | ๑๐° ๕๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๔' ๐๐" |
๑๔ | ๑๐° ๕๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๐' ๐๐" |
๑๕ | ๑๐° ๕๑' ๐๕" | ๑๐๑° ๑๐' ๐๐" |
๑๖ | ๑๐° ๕๑' ๐๕" | ๑๐๑° ๐๘' ๑๕.๙๓" |
๑๗ | ๑๐° ๔๕' ๓.๔๘" | ๑๐๑° ๐๘' ๑๕.๙๓" |
๑๘ | ๑๐° ๔๕' ๓.๔๘" | ๑๐๑° ๐๗' ๑๐.๑๑" |
๑๙ | ๑๐° ๓๓' ๒๕" | ๑๐๑° ๐๗' ๑๐.๑๑" |
๒๐ | ๑๐° ๓๓' ๒๕" | ๑๐๑° ๐๘' ๔๐" |
๒๑ | ๑๐° ๓๐' ๕๒" | ๑๐๑° ๐๘' ๔๐" |
๒๒ | ๑๐° ๓๐' ๕๒" | ๑๐๑° ๐๙' ๓๐" |
๒๓ | ๑๐° ๓๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๙' ๓๐" |
๒๔ | ๑๐° ๓๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๐' ๐๐" |
๒๕ | ๑๐° ๒๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๐' ๐๐" |
๒๖ | ๑๐° ๒๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๑' ๓๐" |
๒๗ | ๑๐° ๒๑' ๓๐" | ๑๐๑° ๑๑' ๓๐" |
๒๘ | ๑๐° ๒๑' ๓๐" | ๑๐๑° ๑๒' ๐๐" |
๒๙ | ๑๐° ๑๒' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๒' ๐๐" |
๓๐ | ๑๐° ๑๒' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๐' ๐๐" |
๓๑ | ๑๐° ๑๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๐' ๐๐" |
พื้นที่ ๑ สำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/65 พื้นที่ B
มีขนาดพื้นที่ ๑๘๘.๗๑ ตารางกิโลเมตร ดังแสดงขอบเขตด้วยพิกัดภูมิศาสตร์จำนวน ๖ จุด
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
๓๒ | ๑๐° ๒๘' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๐' ๐๐" |
๓๓ | ๑๐° ๓๙' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๐' ๐๐" |
๓๔ | ๑๐° ๓๙' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๐' ๓๕.๓๓๖" |
๓๕ | ๑๐° ๑๘' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๘' ๓๓.๔๓๙" |
๓๖ | ๑๐° ๑๘' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๔' ๐๐" |
๓๗ | ๑๐° ๒๘' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๔' ๐๐" |
พื้นที่ ๒ สำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/65 พื้นที่ A
มีขนาดพื้นที่ ๑,๗๗๓.๔๘ ตารางกิโลเมตร ดังแสดงขอบเขตด้วยพิกัดภูมิศาสตร์จำนวน ๒๐ จุด
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
๑ | ๐๙° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๐° ๕๒' ๒๕" |
๒ | ๐๙° ๒๖' ๐๐" | ๑๐๐° ๕๒' ๒๕" |
๓ | ๐๙° ๒๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๐' ๐๐" |
๔ | ๐๙° ๒๕' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๐' ๐๐" |
๕ | ๐๙° ๒๕' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๑' ๐๐" |
๖ | ๐๙° ๒๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๑' ๐๐" |
๗ | ๐๙° ๒๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๓' ๐๐" |
๘ | ๐๙° ๑๘' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๓' ๐๐" |
๙ | ๐๙° ๑๘' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๔' ๐๐" |
๑๐ | ๐๙° ๑๗' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๔' ๐๐" |
๑๑ | ๐๙° ๑๗' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๕' ๐๐" |
๑๒ | ๐๙° ๑๕' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๕' ๐๐" |
๑๓ | ๐๙° ๑๕' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๑' ๐๐" |
๑๔ | ๐๙° ๑๑' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๑' ๐๐" |
๑๕ | ๐๙° ๑๑' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๒' ๐๐" |
๑๖ | ๐๙° ๐๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๒' ๐๐" |
๑๗ | ๐๙° ๐๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๒' ๓๐" |
๑๘ | ๐๙° ๐๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๒' ๓๐" |
๑๙ | ๐๙° ๐๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๔' ๐๐" |
๒๐ | ๐๙° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๔' ๐๐" |
ข้อกำหนดข้อผูกพันขั้นต่ำในด้านปริมาณงานและปริมาณเงินในการสำรวจปิโตรเลียม
แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G2/65
แปลง สำรวจ |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ระยะห่างจากชายฝั่งโดยประมาณ (กม.) |
ปริมาณงานและปริมาณเงินขั้นต่ำในการสำรวจปิโตรเลียม | |||
การสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน* (ตร.กม. หรือ กม.) |
ค่าใช้จ่รายรวมของการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน** (ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) |
หลุมสำรวจ*** (หลุม) |
ค่าใช้จ่ายรวมของหลุมสำรวจ**** (ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) |
|||
G2/65 | ๑๕,๐๓๐.๑๔ | นครศรีธรรมราช ๗๑ กม. สงขลา ๒๒ กม. ปัตตานี ๑๖ กม. |
แบบ ๓ มิติ ≥ ๒๕๐ ตร.กม. และ/หรือ แบบ ๒ มิติ โดยคิดเทียบเท่าแบบ ๓ มิติ |
๑.๕ | ๒ | ๕ |
หมายเหตุ | |
* | เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบปริมาณงานการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนกับข้อกำหนดขั้นต่ำของรัฐ ให้ถือว่าการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ ๒ มิติ ๘ กม. เท่ากับแบบ ๓ มิติ ๑ ตร.กม. |
** | ค่าใช้จ่ายในการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน - แบบ ๒ มิติ ไม่น้อยกว่า ๘๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา/กม. - แบบ ๓ มิติ ไม่น้อยกว่า ๖,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา/ตร.กม. |
*** | ข้อกำหนดผูกมัดเกี่ยวกับการเจาะหลุมสำรวจสำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G2/65 - หลุมสำรวจ ๒ หลุม ต้องเจาะภายในขอบเขตพื้นที่ ๑ และพื้นที่ ๒ พื้นที่ละ ๑ หลุม ดังแผนที่และจุดพิกัดภูมิศาสตร์ตามรูปที่ ๒ และ ตารางที่ ๒ |
**** | ค่าใช้จ่ายต่อหลุมสำรวจ ไม่น้อยกว่า ๒.๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา |
รูปที่ ๒ แสดงขอบเขตพื้นที่ ๑ และพื้นที่ ๒ สำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G2/65
ตารางที่ ๒ พิกัดภูมิศาสตร์แสดงขอบเขตพื้นที่ ๑ และพื้นที่ ๒ สำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G2/65
พื้นที่ ๑ สำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G2/65
มีขนาดพื้นที่ ๖,๒๔๘.๙๙ ตารางกิโลเมตร ดังแสดงขอบเขตด้วยพิกัดภูมิศาสตร์จำนวน ๔๔ จุด
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
๑ | ๐๘° ๐๕' ๔๕" | ๑๐๐° ๕๒' ๒๕" |
๒ | ๐๙° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๐° ๕๒' ๒๕" |
๓ | ๐๙° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๐' ๒๐" |
๔ | ๐๘° ๔๑' ๒๐" | ๑๐๑° ๑๐' ๒๐" |
๕ | ๐๘° ๔๑' ๒๐" | ๑๐๑° ๑๓' ๐๐" |
๖ | ๐๘° ๓๙' ๔๕" | ๑๐๑° ๑๓' ๐๐" |
๗ | ๐๘° ๓๙' ๔๕" | ๑๐๑° ๑๕' ๔๕" |
๘ | ๐๘° ๓๙' ๑๕" | ๑๐๑° ๑๕' ๔๕" |
๙ | ๐๘° ๓๙' ๑๕" | ๑๐๑° ๑๖' ๑๕" |
๑๐ | ๐๘° ๓๘' ๓๐" | ๑๐๑° ๑๖' ๑๕" |
๑๑ | ๐๘° ๓๘' ๓๐" | ๑๐๑° ๑๖' ๔๕" |
๑๒ | ๐๘° ๓๕' ๔๕" | ๑๐๑° ๑๖' ๔๕" |
๑๓ | ๐๘° ๓๕' ๔๕" | ๑๐๑° ๑๗' ๑๕" |
๑๔ | ๐๘° ๓๑' ๔๕" | ๑๐๑° ๑๗' ๑๕" |
๑๕ | ๐๘° ๓๑' ๔๕" | ๑๐๑° ๑๘' ๐๐" |
๑๖ | ๐๘° ๒๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๑๘' ๐๐" |
๑๗ | ๐๘° ๒๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๐' ๒๐" |
๑๘ | ๐๘° ๒๑' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๐' ๒๐" |
๑๙ | ๐๘° ๒๑' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๒' ๓๐" |
๒๐ | ๐๘° ๑๙' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๒' ๓๐" |
๒๑ | ๐๘° ๑๙' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๖' ๐๐" |
๒๒ | ๐๘° ๒๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๖' ๐๐" |
๒๓ | ๐๘° ๒๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๔' ๐๐" |
๒๔ | ๐๘° ๒๙' ๓๐" | ๑๐๑° ๒๔' ๐๐" |
๒๕ | ๐๘° ๒๙' ๓๐" | ๑๐๑° ๒๗' ๐๐" |
๒๖ | ๐๘° ๓๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๒๗' ๐๐" |
๒๗ | ๐๘° ๓๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๓๐' ๐๐" |
๒๘ | ๐๘° ๓๑' ๐๐" | ๑๐๑° ๓๐' ๐๐" |
๒๙ | ๐๘° ๓๑' ๐๐" | ๑๐๑° ๓๒' ๐๐" |
๓๐ | ๐๘° ๒๗' ๓๐" | ๑๐๑° ๓๒' ๐๐" |
๓๑ | ๐๘° ๒๗' ๓๐" | ๑๐๑° ๓๔' ๐๐" |
๓๒ | ๐๘° ๒๕' ๐๐" | ๑๐๑° ๓๔' ๐๐" |
๓๓ | ๐๘° ๒๕' ๐๐" | ๑๐๑° ๓๖' ๐๐" |
๓๔ | ๐๘° ๒๒' ๑๕" | ๑๐๑° ๓๖' ๐๐" |
๓๕ | ๐๘° ๒๒' ๑๕" | ๑๐๑° ๔๐' ๔๔" |
๓๖ | ๐๘° ๒๓' ๕๐" | ๑๐๑° ๔๐' ๔๔" |
๓๗ | ๐๘° ๒๓' ๕๐" | ๑๐๑° ๔๑' ๔๑" |
๓๘ | ๐๘° ๒๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๔๑' ๔๑" |
๓๙ | ๐๘° ๒๖' ๐๐" | ๑๐๑° ๔๓' ๐๐" |
๔๐ | ๐๘° ๒๒' ๑๕" | ๑๐๑° ๔๓' ๐๐" |
๔๑ | ๐๘° ๒๒' ๑๕" | ๑๐๑° ๔๕' ๐๐" |
๔๒ | ๐๘° ๐๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๔๕' ๐๐" |
๔๓ | ๐๘° ๐๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๐' ๐๐" |
๔๔ | ๐๘° ๐๕' ๔๕" | ๑๐๑° ๐๐' ๐๐" |
พื้นที่ ๒ สำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G2/65
มีขนาดพื้นที่ ๕,๘๖๑.๘๒ ตารางกิโลเมตร ดังแสดงด้วยขอบเขตพิกัดภูมิศาสตร์จำนวน ๔ จุด
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
๑ | ๐๗° ๐๕' ๓๗" | ๑๐๑° ๐๐' ๐๐" |
๒ | ๐๗° ๔๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๐๐' ๐๐" |
๓ | ๐๗° ๔๔' ๐๐" | ๑๐๑° ๔๕' ๐๐" |
๔ | ๐๗° ๐๕' ๓๗" | ๑๐๑° ๔๕' ๐๐" |
ข้อกำหนดข้อผูกพันขั้นต่ำในด้านปริมาณงานและปริมาณเงินในการสำรวจปิโตรเลียม
แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G3/65
แปลง สำรวจ |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ระยะห่างจากชายฝั่งโดยประมาณ (กม.) |
ปริมาณงานและปริมาณเงินขั้นต่ำในการสำรวจปิโตรเลียม | |||
การสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน* (ตร.กม. หรือ กม.) |
ค่าใช้จ่รายรวมของการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน** (ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) |
หลุมสำรวจ*** (หลุม) |
ค่าใช้จ่ายรวมของหลุมสำรวจ*** (ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) |
|||
G3/65 | ๑๑,๖๔๖.๖๗ | ปัตตานี ๔๔ กม. นราธิวาส ๓๕ กม. |
แบบ ๓ มิติ ≥ ๒๕๐ ตร.กม. และ/หรือ แบบ ๒ มิติ โดยคิดเทียบเท่าแบบ ๓ มิติ |
๑.๕ | ๓ | ๗.๕ |
หมายเหตุ | |
* | เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบปริมาณงานการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนกับข้อกำหนดขั้นต่ำของรัฐ ให้ถือว่าการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ ๒ มิติ ๘ กม. เท่ากับแบบ ๓ มิติ ๑ ตร.กม. |
** | ค่าใช้จ่ายในการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน - แบบ ๒ มิติ ไม่น้อยกว่า ๘๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา/กม. - แบบ ๓ มิติ ไม่น้อยกว่า ๖,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา/ตร.กม. |
*** | ข้อกำหนดผูกมัดเกี่ยวกับการเจาะหลุมสำรวจสำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G3/65 - หลุมสำรวจ ๒ หลุม ต้องเจาะภายในขอบเขตพื้นที่ ๑ และพื้นที่ ๒ พื้นที่ละ ๑ หลุม ดังแผนที่และจุดพิกัดภูมิศาสตร์ตามรูปที่ ๓ และตารางที่ ๓ - หลุมสำรวจ ๑ หลุม จะทำการเจาะในบริเวณใดของแปลงสำรวจดังกล่าวก็ได้ |
**** | ค่าใช้จ่ายต่อหลุมสำรวจ ไม่น้อยกว่า ๒.๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา |
รูปที่ ๓ แสดงขอบเขตพื้นที่ ๑ และพื้นที่ ๒ สำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G3/65
ตารางที่ ๓ พิกัดภูมิศาสตร์แสดงขอบเขตพื้นที่ ๑ และพื้นที่ ๒ สำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G3/65
พื้นที่ ๑ สำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G3/65
มีขนาดพื้นที่ ๕,๐๑๙.๔๓ ตารางกิโลเมตร ดังแสดงขอบเขตด้วยพิกัดภูมิศาสตร์จำนวน ๕ จุด
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
๑ | ๐๗° ๑๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๔๕' ๐๐" |
๒ | ๐๘° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๔๕' ๐๐" |
๓ | ๐๘° ๐๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๕๘' ๐๐" |
๔ | ๐๗° ๒๙' ๐๐" | ๑๐๒° ๒๒' ๐๐" |
๕ | ๐๗° ๑๐' ๐๐" | ๑๐๒° ๒๒' ๐๐" |
พื้นที่ ๒ สำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G3/65
มีขนาดพื้นที่ ๒,๗๐๘.๗๘ ตารางกิโลเมตร ดังแสดงขอบเขตด้วยพิกัดภูมิศาสตร์จำนวน ๗ จุด
จุดที่ | GCS Indian 1975 | |
ละติจูด (เหนือ) | ลองจิจูด (ตะวันออก) | |
๑ | ๐๗° ๐๕' ๓๗" | ๑๐๑° ๔๕' ๐๐" |
๒ | ๐๗° ๑๐' ๐๐" | ๑๐๑° ๔๕' ๐๐" |
๓ | ๐๗° ๑๐' ๐๐" | ๑๐๒° ๒๘' ๕๔" |
๔ | ๐๖° ๕๐' ๐๐" | ๑๐๒° ๒๑' ๑๒" |
๕ | ๐๖° ๓๘' ๕๔" | ๑๐๒° ๑๕' ๒๔" |
๖ | ๐๖° ๓๘' ๕๔" | ๑๐๑° ๕๙' ๐๐" |
๗ | ๐๗° ๐๕' ๓๗" | ๑๐๑° ๕๙' ๐๐" |
หัวข้อรายงานการศึกษาทางธรณีวิทยา
1. รายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร
2. บทนำ
3. ประวัติการสำรวจปิโตรเลียม
4. ธรณีแปรสัณฐานและธรณีวิทยาพื้นฐาน
5. ธรณีวิทยาปิโตรเลียม
6. แนวคิดในการสำรวจและแผนการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม
7. ข้ออภิปรายและข้อสรุป
8. แหล่งอ้างอิง
ประกาศกระทรงพลังงาน
เรื่อง การกำหนดให้ดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมสำหรับแปลงสำรวจปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย สำหรับการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมครั้งที่ ๒๔ จำนวน ๓ แปลงสำรวจ ในรูปแบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต
โดยที่มาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้กำหนดให้ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ผู้ใดสำรวจหรือผลิตผิโตรเลียมในที่ใด ไม่ว่าที่นั้นเป็นของตนเองหรือบุคคลอื่น ต้องได้รับสัมปทาน ได้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต หรือได้รับสัญญาจ้างบริการ และการกำหนดให้ที่ใดสมควรที่จะดำเนินการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมตามวรรคหนึ่งในรูปแบบสัมปทาน สัญญาแบ่งปันผลผลิต หรือสัญญาจ้างบริการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้มีประกาศกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่แปลงสำรวจปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย สำหรับการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ครั้งที่ ๒๔ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๔ จำนวน ๓ แปลง คือ แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/65 แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G2/65 และแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G3/65
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓/๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานโดยคำแนะนำของคณธกรรมการปิโตรเลียม ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการปิโตรเลียม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียม ในรูปแบบสัมปทาน สัญญาแบ่งปันผลผลิต หรือสัญญาจ้างบริการ ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ จึงพิจารณาออกประกาศ กำหนดให้แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/65 แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G2/65 และแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G3/65 สมควรที่จะดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในรูปแบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต
ประกาศ ณ วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ประกาศกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่แปลงสำรวจปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย
สำหรับการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ครั้งที่ ๒๔
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๐ และมาตรา ๕๓/๘ มาตรา ๕๓/๑๘ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกอบกับมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๐ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติออกประกาศดังต่อไปนี้
๑. ให้ยกเลิกประกาศกรมเชื้อเพลิงธรรมช่าติ เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่แปลงสำรวจบนบกสำหรับการให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ลงวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๔
๒. กำหนดเขตพื้นที่แปลงสำรวจปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย สำหรับการให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ครั้งที่ ๒๔ จำนวน ๓ แปลง โดยมีแนวเขตตามแผนที่หมายเลข ป. ๙๘/๒๕๖๔ ท้ายประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
สราวุธ แก้วตาทิพย์
อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ