เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายต่างๆที่เกี่ยวข้อง 

เลือกเปลี่ยนภาษา
ไทย อังกฤษ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงตรวจพื้นที่แหล่งก๊าซใหม่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ยืนยันพบและผลิตได้ 20 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือเท่ากับ 640 ตัน

 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงตรวจพื้นที่แหล่งก๊าซใหม่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ยืนยันพบและผลิตได้ 20 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือเท่ากับ 640 ตัน
 

 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ตรวจพื้นที่สำรวจปิโตรเลียมบนบก แหล่งดงมูล จ.กาฬสินธุ์  เร่งเพิ่มปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติให้กับภาคอีสาน ระบุผลการดำเนินการทุกขั้นตอนของกิจกรรมสำรวจปิโตรเลียมแหล่งดงมูลเป็นไปตามมาตรฐานทางด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ย้ำแหล่งดงมูลจะป้อนก๊าซธรรมชาติเพิ่ม 20 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หนุน‘ภาคอีสาน’เป็นเส้นทางขนส่งเชื่อมอาเซียน (East – West Corridor)
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2558  นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังการเดินทางมาตรวจติดตามการดำเนินงานโครงการสำรวจปิโตรเลียมในพื้นที่หลุมดงมูล 5 (DM-5) ต.กุงเก่า อ.ท่าคันโท      จ.กาฬสินธุ์ ว่า การสำรวจพบก๊าซธรรมชาติ ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ในครั้งนี้ มาจากการเปิดให้ยื่นขอสัมปทานรอบที่ 18 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2546 หลังจากที่เคยทำการสำรวจในพื้นที่เดียวกันมาแล้วก่อนหน้านี้เมื่อปี พ.ศ.2533 หรือ เมื่อ 25 ปีที่แล้ว แต่ต้องทำการปิดหลุมและคืนพื้นที่ เนื่องจากยังไม่มีสมรรถนะเชิงพาณิชย์ ในขณะนั้น
สำหรับการสำรวจในรอบนี้ บริษัท อพิโก้ (โคราช) จำกัด  เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน  ผู้ได้รับสัมปทาน ได้ใช้ความพยายามสำรวจมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 – 2552 ซึ่งไม่พบปิโตรเลียมเช่นกัน จนกระทั้งต้นปี พ.ศ. 2555  จึงได้เปลี่ยนวิธีสำรวจ โดยการวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ 3 มิติ (3D-Seismic) ทำให้พบปิโตรเลียมที่คุ้มค่าเชิญพาณิชย์ นับว่าเป็นความโชคดีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะแหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อม ซึ่งผลิตก๊าซได้ 120 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และแหล่งก๊าซธรรมชาติน้ำพอง ซึ่งผลิตก๊าซได้ 11-15 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน  ก๊าซธรรมชาติจากทั้งสองแหล่งจะใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า 120 ล้านลูกบาศก์ฟุต ต่อวัน และใช้เป็นเชื้อเพลิง NGV  สำหรับยานยนต์ 15 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน  ปัจจุบันก๊าซธรรมชาติจาก  ทั้งสองแหล่งมีปริมาณลดน้อยลง การขนส่งก๊าซเข้ามาจากภาคอื่นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการต้องใช้รถบรรทุกเพราะไม่มีท่อขนส่ง การสำรวจพบก๊าซฯ จากแหล่งดงมูล จ.กาฬสินธุ์ จะช่วยเสริมศักยภาพด้านการผลิตเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติให้กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เพิ่มขึ้น และป้องกันการขาดแคลนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต  
การดำเนินการสำรวจปิโตรเลียมแหล่งดงมูลในช่วงที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ทำอย่างรอบคอบ ผู้ได้รับสัมปทานมีกระบวนการสำรวจทุกขั้นตอนอย่างระมัดระวัง ตั้งแต่การเผาก๊าซฯ ช่วงการทดสอบอัตราไหลของก๊าซฯ จนกระทั่งช่วงปิดหลุมชั่วคราวหลังทดสอบ โดยมีกระบวนการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม ชุมชนและประชาชน ตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด เช่น ผ่านมาตรฐาน EIA  มีการติดตั้งเครื่องวัดคุณภาพอากาศ มีรถตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษในพื้นที่ตลอดระยะเวลาที่มีการทดสอบเผาก๊าซฯ 
คาดว่าแหล่งก๊าซธรรมชาติดงมูล ซึ่งประกอบด้วยหลุมผลิตดงมูล 3ST และหลุมผลิตดงมูล 5 จะมีปริมาณสำรองเบื้องต้นประมาณ  35,000 และ 50,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตตามลำดับ  มีแผนจะผลิตก๊าซธรรมชาติได้ประมาณ 20 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้จะส่งผ่านทางท่อเชื่อมต่อภายในแหล่งดงมูลไปยังสถานีปรับปรุงคุณภาพ (กำลังการผลิตสูงสุด 28 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน) ที่ ต.หนองใหญ่   อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์  เพื่อส่งไปยังจุดซื้อขายที่   อ.กระนวน จ.ขอนแก่น โดยจะมีสถานีผลิตก๊าซ NGV ณ จุดซื้อขายก๊าซธรรมชาติ ซึ่งคาดว่าจะผลิตก๊าซ NGV             ได้ประมาณ 640 ตันต่อวัน  
ทั้งนี้ หากผลิตก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ผลิตดงมูล  ในอัตรา 20 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน รัฐจะได้รับค่าภาคหลวงสำหรับจัดสรรลงสู่ท้องถิ่นในพื้นที่ผลิต ประมาณ 27 ล้านบาทต่อปี อย่างไรก็ตามจากการประเมินปริมาณสำรองของแหล่งดงมูลสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติได้ในระยะเวลา 15 ปี จากปริมาณสำรองทั้งหมด 90 พันล้านลูกบาศก์ฟุต ดังนั้นจึงคาดว่าจะสามารถจัดสรรค่าภาคหลวงให้แก่พื้นที่ผลิตตลอดโครงการ เป็นเงิน 405 ล้านบาท  
 “ขอย้ำว่า ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย  มีความเสี่ยงและต้องใช้เงินลงทุนสูงทุกขั้นตอนและส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลานานตั้งแต่การสำรวจ พัฒนา จนถึงการผลิต  เพราะนอกจากต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีมาตรฐานทางด้านปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมแล้ว  ยังต้องเพิ่มมาตรการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ชุมชนในทุกๆด้าน  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานควบคู่กับการความมั่นใจแก่ประชาชนอย่างแท้จริง” นายณรงค์ชัยกล่าว
 
 
กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
10 สิงหาคม 2558
 
ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2561 ผู้เยี่ยมชม : 74,745,724
ผู้เยี่ยมชม (พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ชธ.) : 149,178