เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายต่างๆที่เกี่ยวข้อง 

เลือกเปลี่ยนภาษา
ไทย อังกฤษ

อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ชี้แจงการเสนอยกเลิกมาตรการห้ามส่งออกน้ำมันดิบ

อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ  ชี้แจงการเสนอยกเลิกมาตรการห้ามส่งออกน้ำมันดิบ

เน้นเฉพาะที่จำเป็น  ยืนยันบริหารจัดการอย่างเป็นธรรม  มุ่งเน้นผลประโยชน์ประเทศชาติสูงสุด

 

นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี รักษาราชการแทนอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่าการเสนอให้ยกเลิกมาตรการห้ามส่งออกน้ำมันดิบครั้งนี้ เนื่องจากคุณภาพน้ำมันดิบที่ผลิตได้จากแหล่งในประเทศบางแหล่งมีสารปนเปื้อนสูง ส่งผลให้โรงกลั่นภายในประเทศไม่สามารถกลั่นได้ตามกระบวนการปกติ แต่หากมีนโยบายให้โรงกลั่นปรับปรุงอุปกรณ์เพื่อการกลั่นกลุ่มน้ำมันประเภทนี้ ก็นับเป็นการลงทุนที่ไม่สอดคล้องตามหลักการบริหารจัดการที่เป็นธรรมและเหมาะสม ทั้งนี้เพราะปริมาณน้ำมันดิบที่มีคุณภาพไม่เหมาะสมที่ผลิตได้จากแหล่งในประเทศที่อยู่ในข่ายส่งออกดังกล่าว คิดเป็นเพียงร้อยละ 5 ของน้ำมันดิบที่จัดหาได้จากแหล่งในประเทศทั้งหมด หากโรงกลั่นรับซื้อน้ำมันดิบประเภทนี้จะมีต้นทุนในการกลั่นเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายถึงราคาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ผลิตได้บางชนิด เช่น น้ำมันดีเซลที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงหลักของประเทศก็มีราคาสูงกว่าปกติ เพราะต้องบวกต้นทุนการกลั่นที่ต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์และเพิ่มกระบวนการปรับปรุงคุณภาพให้เหมาะสมกับความต้องการใช้ของผู้บริโภค อีกทั้งผลิตภัณฑ์บางประเภท เช่น น้ำมันเตาที่ผลิตได้ก็ยังมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานตามปกติ ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคขั้นสุดท้ายโดยตรง

นายวีระศักดิ์ กล่าวต่ออีกว่า การให้สิทธิเพื่อสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกว่าจะถึงขั้นตอนการพัฒนา หรือผลิตต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 8-9 ปี และเมื่อค้นพบและผลิตปิโตรเลียมขึ้นมาได้ ส่วนใหญ่ก็ใช้ในประเทศเป็นหลัก แต่ในกรณีที่ค้นพบน้ำมันดิบที่มีสารปนเปื้อนและมีคุณภาพไม่ตรงความต้องการของโรงกลั่นและตลาดภายในประเทศและมีความจำเป็นต้องส่งออก จะพิจารณาเฉพาะส่วนที่จำเป็นจริงๆ โดยการส่งออกน้ำมับดิบ  จะเป็นการสร้างมูลค่า(ด้านราคา) ของน้ำมันดิบที่มีคุณภาพต่ำได้มากกว่า ทั้งนี้เพราะมีแนวทางปฏิบัติกำหนดให้ผู้รับสัมปทานต้องส่งออกปิโตรเลียมในราคาสูงกว่าที่ขายในตลาดภายในประเทศ อันจะส่งผลให้รัฐสามารถจัดเก็บรายได้ได้มากกว่าการขายในประเทศ

“กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ขอยืนยันว่า ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลจะพิจารณาบริหารจัดการให้เป็นไปทั้งตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย และความเป็นธรรมแก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเป้าหมายสูงสุดยังคงมุ่งเน้นประโยชน์กับประชาชน และประเทศชาติเป็นสำคัญ

 

 

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

16 ตุลาคม 2558

 

 

 

 

 

ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2561 ผู้เยี่ยมชม : 74,745,533
ผู้เยี่ยมชม (พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ชธ.) : 149,178