เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ประวัติกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรมองค์กร |
หน้าที่และอำนาจ |
ภารกิจ |
ยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติราชการ |
นโยบายพลังงาน |
โครงสร้างองค์กร |
ทำเนียบบุคลากร |
ผู้บริหาร |
ราชการบริหารส่วนกลาง |
สำนักงานเลขานุการกรม |
กองจัดการเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
กองเทคโนโลยีการประกอบกิจการปิโตรเลียม |
กองบริหารกิจการปิโตรเลียมระหว่างประเทศ |
กองบริหารสัญญาและสัมปทานปิโตรเลียม |
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน |
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
กองความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
กองสัญญาแบ่งปันผลผลิต |
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร |
กลุ่มตรวจสอบภายใน |
ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (DCIO) |
สถานที่ติดต่อ |
Logo กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม |
พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม |
พระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย |
พระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับสถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเล |
คู่มือมาตรา 69/70 |
คู่มือการจัดการของเสียจากสถานประกอบกิจการปิโตรเลียม |
คู่มือการจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมสำหรับการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน |
คู่มือการเปลี่ยนแปลง สิทธิ ประโยชน์ และพันธะในสัมปทานปิโตรเลียม ภายใต้ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 |
ตามมติจากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 ได้รับทราบตามที่กระทรวงพลังงาน เสนอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานเกี่ยวกับกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ กรณีบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และมิตซุย ออยล์ เอ็กซโปลเรชั่น คัมปะนี ลิมิเต็ด ซึ่งปรากฎว่ากระบวนการเจรจาเกี่ยวกับข้อพิพาทด้านกฎหมายการรื้อถอนแท่นปิโตรเลียมในแหล่งเอราวัณและกรณีบริษัท โททาล เอนเนอร์ยี่ส์ อีพี ไทยแลนด์ ได้ข้อยุติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้กรณีข้อพิพาทด้านกฎหมายการรื้อถอนแท่นปิโตรเลียมทั้งของแหล่งเอราวัณและแหล่งบงกช ได้ข้อยุติทั้ง 2 กรณี หลังจากที่มีการหารือและดำเนินกระบวนการทางกฎหมายมาอย่างต่อเนื่อง
โดยรายละเอียดของการรื้อถอนสิ่งติดตั้งฯ ของแหล่งเอราวัณ คือตามสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 1/2515/5 และเลขที่ 2/2515/6 แหล่งเอราวัณ เมื่อสิ้นสุดอายุสัมปทานในปี 2565 ผู้รับสัมปทานต้องส่งมอบสิ่งติดตั้งให้แก่รัฐเพื่อใช้ประโยชน์ต่อในการกิจการปิโตรเลียม จำนวน 159 รายการ และต้องดำเนินการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ จำนวน 52 รายการ และตามสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 5/2515/9 และเลขที่ 3/2515/7 แหล่งบงกช เมื่อสิ้นสุดสัมปทานในปี 2565 และปี 2566 ผู้รับสัมปทานต้องส่งมอบสิ่งติดตั้งให้แก่รัฐ จำนวน 66 รายการ และต้องดำเนินการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ จำนวน 4 รายการ
ทั้งนี้ กรณีเกี่ยวกับข้อพิพาทด้านกฎหมายการรื้อถอนแท่นปิโตรเลียม ของแหล่งเอราวัณและบงกชเกิดขึ้นเมื่อช่วงปี พ.ศ. 2562-2563 จากการที่บริษัทผู้รับสัมปทาน ได้แก่ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และมิตซุย ออยล์ เอ็กซโปลเรชั่น คัมปะนี ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมแหล่งเอราวัณ และบริษัท โททาล เอนเนอร์ยี่ส์ อีพี ไทยแลนด์ ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมแหล่งบงกช ได้ยื่นข้อเรียกร้องและนำคดีเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ในประเด็นที่เห็นต่างกรณีกระทรวงพลังงานออกกฎหมายเกี่ยวกับการรื้อถอน สิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม ซึ่งกำหนดหน้าที่ให้ผู้รับสัมปทานต้องวางหลักประกันการรื้อถอนและร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนบางส่วนของสิ่งติดตั้งภายหลังสัมปทานปิโตรเลียมสิ้นสุดลง ในปี 2565 - 2566
โดยตลอดระยะเวลาการพิจารณาคดีนั้น ฝ่ายไทยได้มีการแต่งตั้งที่ปรึกษาทั้งในและต่างประเทศเพื่อดำเนินกระบวนการอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งคู่กรณีมีการเจรจาเพื่อหาข้อยุติอย่างฉันท์มิตร จนสามารถยุติข้อพิพาทได้ โดยในกรณีของบริษัท โททาล เอนเนอร์ยี่ส์ อีพี ไทยแลนด์ ได้มีการเพิกถอนข้อพิพาทเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 และกระทรวงพลังงานได้นำเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2567
สำหรับกรณีของบริษัท เชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด และมิตซุย ออยล์ เอ็กซโปลเรชั่น คัมปะนี ลิมิเต็ด คณะอนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดตามยอมเป็นที่พอใจและยอมรับของทุกฝ่าย และจำหน่ายคดีออกจากสารบบ โดยผู้รับสัมปทานได้ยอมรับปฏิบัติตามคำชี้ขาดตามยอมและไม่นำข้อเรียกร้องกลับมาฟ้องร้องอีก ผลของคำชี้ขาดตามยอมดังกล่าวเป็นไปตามหลักการของกฎหมายและภาครัฐไม่เสียประโยชน์ พร้อมทั้งผู้รับสัมปทานได้รับผิดชอบดำเนินการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่รัฐไม่ได้รับมอบภายใต้การกำกับดูแลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติตามกฎหมายเกี่ยวกับการรื้อถอนมาอย่างต่อเนื่อง
ผลของการยุติข้อพิพาทในครั้งนี้ส่งผลให้ข้อเรียกร้องทั้งสองคดีถูกเพิกถอนโดยถาวร โดยที่รัฐไม่เสียประโยชน์ และเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับภาคเอกชนสำหรับการลงทุนในประเทศไทย พร้อมทั้งเดินหน้าประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนความมั่นคงทางพลังงานของประเทศอย่างต่อเนื่อง นับว่าเป็นการบรรลุข้อตกลงซึ่งเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย รวมทั้งการดำเนินงานรื้อถอนของผู้รับสัมปทานจะไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตปิโตรเลียมของผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตปัจจุบันด้วย