เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายต่างๆที่เกี่ยวข้อง 

เลือกเปลี่ยนภาษา
ไทย อังกฤษ

กบน.เล็งชงรัฐบาลเคาะรับมือขึ้นภาษีฯ ดีเซล ลุ้นบริหารไม่ให้เกิน 32 บาท/ลิตรถึงสิ้นปี

Topic

(31 พฤษภาคม 2566)  กบน.เผยเตรียมทำหนังสือถึงรัฐบาล รักษาการ และว่าที่รัฐบาลใหม่ตัดสินใจกรณีคลังไม่ต่อภาษีฯ ดีเซลหลังสิ้นสุด 20 ก.ค. 66 โดยหากราคาน้ำมันโลกไม่เกิน 90 เหรียญต่อบาร์เรลจะรักษาฐานราคา 32 บาท/ ลิตรจนถึงสิ้นปีได้ ด้วยการลดเงินกองทุนน้ำมัน ควบคู่การขึ้นภาษี 5 บาท/ลิตร แต่หากต้องการให้ลดลงอีกต้องลดภาษีฯ ด้วย

นายวิศักดิ์ วัฒนศัพท์  ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบน.) ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน ได้สั่งการให้กองทุนฯ เตรียมสรุปสมมติฐานต่างๆ (Scenario Analysis) เสนอทั้งรัฐบาลรักษาการ และรัฐบาลใหม่ เพื่อให้ทราบทิศทางและให้นโยบายทางการเมืองว่าจะตัดสินใจดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับทิศทางราคาดีเซล ซึ่งปัจจุบันราคาอยู่ที่ประมาณ 32 บาท/ลิตร ภายใต้การลดภาษีสรรพสามิตดีเซล 5 บาทต่อลิตร จนถึงวันที่ 20 ก.ค. 66 (จัดเก็บเพียง 1.34 บาท/ลิตร) และเก็บเงินกองทุนน้ำมันฯ 5.43 บาท/ลิตร โดย กบน.ได้ติดตามราคาไปจนถึงสิ้นปี 66 ประเมินว่าหากราคาดีเซลตลาดโลกอยู่ที่ราคาปัจจุบันประมาณ 90 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 33-35 บาท/เหรียญสหรัฐ ได้เตรียมทำสมมติฐาน 2 แนวทาง ได้แก่

1. กรณีนโยบายภาครัฐให้ขึ้นภาษีดีเซล 5 บาทต่อลิตรหลังวันที่ 20 ก.ค. 66 ทาง กบน.ก็คาดว่าจะสามารถรักษาระดับราคาดีเซล 32 บาท/ลิตร ด้วยการลดการจัดเก็บเงินกองทุนประมาณ 5 บาท/ลิตร โดยกองทุนสำหรับดีเซลจะเหลือประมาณ 43 สตางค์/ลิตร ก็จะเพียงพอในการดูแลสภาพคล่องกองทุนฯ ได้

2.  กรณีรัฐบาลต้องการให้ลดราคาดีเซลต่ำกว่า 32 บาท/ลิตร กรณีนี้รัฐบาลก็ต้องใช้นโยบายภาษีเข้ามาร่วมดูแลด้วย โดยแทนที่จะขึ้นทันที 5 บาท/ลิตรก็จะต้องทยอยขึ้น อาจจะเป็น 2-3 บาทต่อลิตร แนวทางนี้กองทุนฯ ก็จะร่วมดูแลโดยการลดการจัดเก็บเงินกองทุนฯ ควบคู่ไปด้วย เช่น หากต้องการเห็นดีเซล 30 บาท/ลิตร ก็ต้องลดภาษีต่ออีก 2 บาท/ลิตร และลดการจัดเก็บเงินกองทุนน้ำมันลง 5 บาท/ลิตร

“น้ำมันโลกลดทำให้จัดเก็บเงินน้ำมันได้ราว 10,000 บาทต่อเดือน ทำให้มองว่าอีก 2 เดือนเงินกองทุนฯ จะติดลบเหลือ 5 หมื่นล้านบาทจากที่ขณะนี้ติดลบราว 6.9 หมื่นล้านบาท หากลดเงินกองทุนฯ ที่เก็บดีเซลจาก 5.43 บาทเหลือประมาณ 0.43 บาท/ลิตร จากยอดการใช้ดีเซลราว 65-67 ล้านลิตรต่อวัน ก็คาดว่าจะมีเงินไหลเข้ากองทุนส่วนนี้ประมาณ 1,000 ล้านบาท/เดือน ก็น่าจะมีเงินเพียงพอในการจ่ายคืนเจ้าหนี้ที่กองทุนฯ กู้ ที่ขณะนี้กู้แล้ว 5 หมื่นล้านบาท และจะกู้เพิ่มอีก 2 หมื่นล้านบาทเป็น 7 หมื่นล้านบาทภายในเดือน มิ.ย.นี้ ซึ่งกู้เท่านี้ก็จะเพียงพอไม่ต้องกู้เพิ่มอีกตามกรอบได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเพื่อกู้ในวงเงิน 150,000 ล้านบาท โดยบรรจุเป็นหนี้สาธารณะของประเทศไปแล้ว 110,000 ล้านบาท” นายวิศักดิ์กล่าว

อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงต้องติดตามปัจจัยคุกคามที่จะมีผลทำให้ราคาน้ำมันกลับมาผันผวนอีก และต้องบริหารกองทุนฯ เพื่อดูแลเสถียรภาพราคาน้ำมัน คือภาวะตลาดโลก ทั้งการสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครน, การลดอัตรากำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกพลัส เป็นต้น

 

 

 

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9660000049427

 

 

ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2561 ผู้เยี่ยมชม : 74,746,752
ผู้เยี่ยมชม (พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ชธ.) : 149,180