เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ประวัติกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรมองค์กร |
หน้าที่และอำนาจ |
ภารกิจ |
ยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติราชการ |
นโยบายพลังงาน |
โครงสร้างองค์กร |
ทำเนียบบุคลากร |
ผู้บริหาร |
ราชการบริหารส่วนกลาง |
สำนักงานเลขานุการกรม |
กองความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
กองจัดการเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
กองเทคโนโลยีการประกอบกิจการปิโตรเลียม |
กองบริหารกิจการปิโตรเลียมระหว่างประเทศ |
กองบริหารสัญญาและสัมปทานปิโตรเลียม |
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน |
กองสัญญาแบ่งปันผลผลิต |
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
กลุ่มตรวจสอบภายใน |
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร |
ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) |
สถานที่ติดต่อ |
Logo กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม |
พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม |
พระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย |
พระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับสถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเล |
คู่มือมาตรา 69/70 |
คู่มือการจัดการของเสียจากสถานประกอบกิจการปิโตรเลียม |
คู่มือการจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมสำหรับการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน |
คู่มือการเปลี่ยนแปลง สิทธิ ประโยชน์ และพันธะในสัมปทานปิโตรเลียม ภายใต้ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 |
( 16 มีนาคม 2566 ) ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ปิดวันพุธ(15มี.ค.)ดิ่งลง 3.72 ดอลลาร์ หลังสต็อกน้ำมันสหรัฐเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งบ่งชี้ถึงอุปสงค์ที่ลดลง
นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในภาคธนาคารของสหรัฐและยุโรป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนเม.ย. ซึ่งมีการซื้อขายที่ตลาดไนเม็กซ์ ลดลง 3.72 ดอลลาร์ ปิดที่ 67.61 ดอลลาร์/บาร์เรล ด้านสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 3.76 ดอลลาร์ ปิดที่ 73.69 ดอลลาร์/บาร์เรล
สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (อีไอเอ) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่มขึ้น 1.6 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้นเพียง 100,000 บาร์เรล
นักลงทุนวิตกต่อสถานะการเงินของเครดิต สวิส ธนาคารใหญ่เป็นอันดับ 2 ของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งได้ซ้ำเติมความกังวลจากการที่รัฐบาลสหรัฐสั่งปิดกิจการของซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (Silicon Valley Bank) และซิกเนเจอร์ แบงก์ (Signature Bank)
นักลงทุนพากันเทขายหุ้นเครดิต สวิส หลังธนาคารซาอุดี เนชั่นแนล แบงก์ (Saudi National Bank) หรือเอสเอ็นบี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของเครดิต สวิส ประกาศว่าเอสเอ็นบีไม่สามารถเพิ่มความช่วยเหลือทางการเงินต่อเครดิต สวิส เนื่องจากจะทำให้เอสเอ็นบีถือหุ้นในเครดิต สวิสมากกว่า 10% ซึ่งจะเป็นการทำผิดกฎระเบียบธนาคาร
ก่อนหน้านี้ เครดิต สวิสเปิดเผยว่า ธนาคารขาดทุนสุทธิ 1.4 พันล้านฟรังก์สวิสในไตรมาส 4/2565 โดยสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.32 พันล้านฟรังก์สวิส ส่งผลให้ยอดขาดทุนตลอดทั้งปีอยู่ที่ 7.3 พันล้านฟรังก์สวิส
นอกจากนี้ ลูกค้าแห่ถอนเงินฝากมากกว่า 1.10 แสนล้านฟรังก์สวิสในไตรมาส 4/2565 ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับข่าวอื้อฉาวของธนาคารในการทำผิดกฎระเบียบ และความเสี่ยงในการถูกดำเนินคดี
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1058055