เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ประวัติกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรมองค์กร |
หน้าที่และอำนาจ |
ภารกิจ |
ยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติราชการ |
นโยบายพลังงาน |
โครงสร้างองค์กร |
ทำเนียบบุคลากร |
ผู้บริหาร |
ราชการบริหารส่วนกลาง |
สำนักงานเลขานุการกรม |
กองความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
กองจัดการเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
กองเทคโนโลยีการประกอบกิจการปิโตรเลียม |
กองบริหารกิจการปิโตรเลียมระหว่างประเทศ |
กองบริหารสัญญาและสัมปทานปิโตรเลียม |
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน |
กองสัญญาแบ่งปันผลผลิต |
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
กลุ่มตรวจสอบภายใน |
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร |
ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) |
สถานที่ติดต่อ |
Logo กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม |
พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม |
พระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย |
พระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับสถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเล |
คู่มือมาตรา 69/70 |
คู่มือการจัดการของเสียจากสถานประกอบกิจการปิโตรเลียม |
คู่มือการจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมสำหรับการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน |
คู่มือการเปลี่ยนแปลง สิทธิ ประโยชน์ และพันธะในสัมปทานปิโตรเลียม ภายใต้ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 |
( 24 มกราคม 2566 ) ราคาน้ำมันโลกทรงตัวในระดับสูงสุดรอบ 7 สัปดาห์ จากการคาดอุปสงค์จากจีนจะเพิ่มขึ้นวันละครึ่งล้านบาร์เรล/วัน และเฟดผ่อนคลายดอกเบี้ยหนุนเศรษฐกิจฟื้นตัว
ราคาน้ำมันทรงตัวจากระดับสูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์ ขณะที่นักลงทุนแห่ซื้อจากความคาดหวังว่าการฟื้นตัวของอุปสงค์หรือความต้องการใช้น้ำมันจากจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ของโลก ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ขยับขึ้นเล็กน้อย เคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 88.19 เหรียญ/บาร์เรล สูงสุดตั้งแต่ 1 ธ.ค. ขณะที่ น้ำมันดิบ WTI ลดลงเล็กน้อย อยู่ที่ 81.62 เหรียญ/บาร์เรล สูงสุดตั้งแต่ 5 ธ.ค.
ราคาน้ำมันย้อนหลัง 15 วัน
ฝ่ายแผนและบริหารบริษัทในเครือ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รายงานว่าราคาน้ำมันดิบ ICE Brent, NYMEX WTI และ Dubai สัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 3-4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยได้แรงสนับสนุนจากแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันของจีนฟื้นตัวหลังเปิดประเทศ โดย IEA, EIA และ OPEC คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันของจีน เฉลี่ยในปี 66 เพิ่มขึ้น 630,000 บาร์เรลต่อวัน จากปีก่อน อยู่ที่ 15.62 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ขณะที่การท่องเที่ยวช่วงเทศกาลตรุษจีนคึกคัก โดยสื่อ China Central Television (CCTV) ของจีนรายงานจำนวนการเดินทางโดยรถไฟ ทางหลวง เรือ และเครื่องบิน ในช่วง 7-21 ม.ค. 66 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 50.8% อยู่ที่ 26.23 ล้านเที่ยว ส่วนทางเทคนิคราคาน้ำมันดิบ ICE Brent สัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 85-90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
จับตาการคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (Federal Open Market Committee: FOMC) โดย Reuters Poll วันที่ 20 ม.ค. 66 คาดการณ์ FOMC มีแนวโน้มจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้งๆ ละ 0.25% สู่ระดับ 4.75-5.0% ในการประชุมช่วง 31 ม.ค.- 1 ก.พ. 66 และ 15-16 มี.ค. 66 และคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวไปจนถึงอย่างน้อยสิ้นปี 66 หากเป็นไปตามคาด เงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะอ่อนค่า สนับสนุนให้เงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) สู่สินทรัพย์เสี่ยง สินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงน้ำมัน
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
ที่มา : https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/188962