ประวัติกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรมองค์กร |
หน้าที่และอำนาจ |
ภารกิจ |
ยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติราชการ |
โครงสร้างองค์กร |
ทำเนียบบุคลากร |
ผู้บริหาร |
ราชการบริหารส่วนกลาง |
สำนักงานเลขานุการกรม |
กองความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
กองจัดการเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
กองเทคโนโลยีการประกอบกิจการปิโตรเลียม |
กองบริหารกิจการปิโตรเลียมระหว่างประเทศ |
กองบริหารสัญญาและสัมปทานปิโตรเลียม |
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน |
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
กลุ่มตรวจสอบภายใน |
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร |
ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) |
สถานที่ติดต่อ |
Logo กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม |
พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม |
พระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย |
พระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับสถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเล |
คู่มือมาตรา 69/70 |
คู่มือการจัดการของเสียจากสถานประกอบกิจการปิโตรเลียม |
คู่มือการจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมสำหรับการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน |
คู่มือการเปลี่ยนแปลง สิทธิ ประโยชน์ และพันธะในสัมปทานปิโตรเลียม ภายใต้ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 |
กระทรวงพลังงานนัดถกสำนักงานคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) สัปดาห์หน้า เคลียร์ประเด็นโซลาร์ฟาร์ม 500 เมกะวัตต์ในพื้นที่EEC ยืนยันการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการต่างๆจะต้องอยู่ภายใต้แผน PDP ในขณะที่การเดินหน้าพัฒนาโครงการดังกล่าวที่PEA ENCOM ร่วมลงทุนกับภาคเอกชนในช่วงที่ผ่านมานั้น เป็นไปตามมติของคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 6 มี.ค.2563 และมีพ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2561 รองรับ
วันนี้ (17ก.พ.2564) นายสมภพ พัฒนอริยางกูล โฆษกกระทรวงพลังงานออกมาชี้แจง ว่า การพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าใน EEC และโครงการพัฒนาด้านไฟฟ้าภายในพื้นที่พิเศษต่างๆ รวมถึงโครงการร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการพัฒนาพลังงานทดแทนในพื้นที่ของภาครัฐ ซึ่งเป็นการศึกษาศักยภาพและความเป็นไปได้ ยังมิได้มีการกำหนดการรับซื้อไฟฟ้าที่อยู่ภายใต้แผน PDP แต่อย่างใด
ซึ่งการจัดทำแผน PDP นั้นจะมีการพิจารณาถึงมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนรอบด้านและต้องมีความสมดุล ไม่ว่าจะเป็นมิติด้านความมั่นคง มิติด้านต้นทุน รวมถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการมองในภาพรวมของการพัฒนาระบบไฟฟ้าทั้งประเทศ
ดังนั้น โครงการที่จะมีการพัฒนา และจะมีการรับซื้อไฟฟ้าเข้าระบบหรือไม่นั้น ต้องมีการพิจารณาในองค์รวมภายใต้ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ดังที่กล่าวข้างต้น เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า
“ขณะนี้ กระทรวงพลังงาน อยู่ระหว่างการจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติ (National Energy Plan) โดยจะเป็นการรวมแผน TIEB เดิม เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีการวิเคราะห์ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งจะตอบโจทย์การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้เทคโนโลยีต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาทิ ยานยนต์ไฟฟ้า การเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งการประมวลทิศทางโลกเหล่านี้ กระทรวงพลังงาน จะนำมาพิจารณาร่วมกับทิศทางการพัฒนาของประเทศที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติและคาดว่าภายในช่วงกลางปี 2564 จะมีการนำเสนอร่างแผนพลังงานชาติโดยจะต้องมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นก่อนเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ก็จะนำแผนดังกล่าวมาเป็นกรอบทิศทางนโยบายในการพัฒนาแผนปฏิบัติการในแต่ละด้าน ทั้งด้านไฟฟ้า ด้านก๊าซธรรมชาติ ด้านพลังงานทดแทน ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง และด้านอนุรักษ์พลังงาน โดยคาดว่าแผนปฏิบัติการดังกล่าวจะมีความชัดเจนภายในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ทั้งนี้ ในช่วงสัปดาห์หน้า กระทรวงพลังงาน จะมีการประชุมหารือร่วมกับทางสำนักงานคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อสร้างความชัดเจนในเรื่องการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าและการบริหารจัดการด้านไฟฟ้าในเขตพื้นที่ EEC ต่อไป” โฆษกกระทรวงพลังงาน กล่าว
ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน ( Energy News Center-ENC ) รายงานว่า โครงการผลิตไฟฟ้าที่กระทรวงพลังงานอ้างถึงที่ยังไม่ได้มีการบรรจุเอาไว้ในแผนPDPฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ประกอบด้วย โครงการ
โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ EEC เป้าหมายระยะแรกไม่น้อยกว่า 500 เมกะวัตต์ ตั้งแต่ปี 2564-2569 มูลค่าการลงทุนประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท ที่ PEA ENCOM ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นผู้ดำเนินการลงทุนร่วมกับเอกชน โดยเป็นการดำเนินการตามมติของคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 6 มี.ค.2563 ภายใต้ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2561 รองรับ
โครงการโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 1,700 เมกะวัตต์ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการพัฒนาโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต ที่ จ.สงขลา ซึ่งเป็นไปตามมติคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ที่คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบเมื่อวันที่ 26 ม.ค.2564 ที่ผ่านมา
โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนพื้นดิน (โซลาร์ฟาร์ม) ภายใต้ความร่วมมือกับกองทัพบกและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ที่มีการลงนามความร่วมมือกันไปเมื่อ 28 ม.ค.2564 ที่ผ่านมา) ซึ่งเบื้องต้นจะศึกษานำร่อง ขนาด 300 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ 3,000 ไร่ ที่จังหวัดกาญจนบุรีในความดูแลของกองทัพบก
ที่มา : https://www.energynewscenter.com/