ประวัติกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรมองค์กร |
หน้าที่และอำนาจ |
ภารกิจ |
ยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติราชการ |
โครงสร้างองค์กร |
ทำเนียบบุคลากร |
ผู้บริหาร |
ราชการบริหารส่วนกลาง |
สำนักงานเลขานุการกรม |
กองความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
กองจัดการเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
กองเทคโนโลยีการประกอบกิจการปิโตรเลียม |
กองบริหารกิจการปิโตรเลียมระหว่างประเทศ |
กองบริหารสัญญาและสัมปทานปิโตรเลียม |
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน |
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
กลุ่มตรวจสอบภายใน |
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร |
ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) |
สถานที่ติดต่อ |
Logo กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ |
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม |
พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม |
พระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย |
พระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับสถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเล |
คู่มือมาตรา 69/70 |
คู่มือการจัดการของเสียจากสถานประกอบกิจการปิโตรเลียม |
คู่มือการจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมสำหรับการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน |
คู่มือการเปลี่ยนแปลง สิทธิ ประโยชน์ และพันธะในสัมปทานปิโตรเลียม ภายใต้ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 |
กระทรวงพลังงาน กรมธุรกิจพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) ร่วมลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสสำหรับการปฏิบัติราชการ และให้บริการด้านการอนุญาตการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง” พร้อมตั้งคณะทำงานขึ้นมาดำเนินการปิดช่องโหว่การทุจริตไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนกรณีข้าราชการกรมธุรกิจพลังงานถูกบุกจับข้อหาเรียกรับผลประโยชน์บริษัทเอกชน ก่อนขยายผลสู่การเปิดสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติและหน่วยงานอื่นๆในสังกัดต่อไป
เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.63 เวลา 12.30 น. ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน และ พันตำรวจโท วันนพ สมจินตนากุล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เข้าร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสสำหรับการปฏิบัติราชการ และให้บริการด้านการอนุญาตการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง ระหว่าง กระทรวงพลังงาน (พน.) กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน บูรณาการและประสานการปฏิบัติราชการร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสสำหรับการปฏิบัติราชการและให้บริการด้านการอนุญาตการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง ลดความเสี่ยงการทุจริต
นายกุลิศ กล่าวว่า การลงนามในครั้งนี้เป็นการนำร่องป้องกันการทุจริตในหน่วยงานกรมธุรกิจพลังงานก่อน เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ออกใบอนุญาตด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งอาจมีช่องโหว่ให้เกิดการทุจริตเรียกรับผลประโยชน์ได้ง่าย เหมือนกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ( ป.ป.ท.) เข้าจับกุมเจ้าหน้าที่ของกระทรวงพลังงาน ในข้อหาเรียกรับผลประโยชน์จากบริษัทเอกชนรายหนึ่งที่ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการคลังน้ำมัน เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2563 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้หลังจากลงนาม MOU ดังกล่าวแล้ว ปลัดกระทรวงพลังงานได้ลงนามตั้งคณะทำงานที่มาจากกระทรวงพลังงาน กรมธุรกิจพลังงานและ ป.ป.ท. เพื่อเร่งผลักดันการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง เช่น การกำหนดระยะเวลาการออกใบอนุญาตต่างๆ ไม่ให้เกิน 45 วัน ซึ่งหากใครจำเป็นต้องได้รับก่อนอาจเกิดช่องโหว่ให้ทุจริตได้ ดังนั้นคณะทำงานจะต้องกำหนดให้มีมาตรการ การให้บริการในกรณีความจำเป็นโดยไม่ก่อให้เกิดการทุจริตด้วย
อย่างไรก็ตาม การนำร่องป้องกันการทุจริตในกรมธุรกิจพลังงานจะดำเนินการเป็นเวลา 2 ปีนับจากนี้ หลังจากนั้นจะพิจารณาขยายผลไปสู่การเปิดสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติ ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และหน่วยงานอื่นๆของกระทรวงพลังงานต่อไป
การลงนามครั้งนี้ยังเป็นการส่งเสริมบูรณาการและประสานการปฏิบัติราชการร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสสำหรับการปฏิบัติราชการและให้บริการด้านอนุญาตการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง ลดความเสี่ยงการทุจริต พัฒนาศักยภาพบุคลากร ยกระดับการให้บริการหน่วยงาน รวมทั้งการส่งเสริมให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล(Good Govermance)เพื่อตอบสนองกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แผนปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกภาคส่วน
สำหรับแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินการจะมีอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานเป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดยกรมธุรกิจพลังงานและสำนักงานพลังงานจังหวัดจะเป็นหน่วยงานดำเนินงาน มีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นผู้กำกับดูแลและสำนักงาน ป.ป.ท. เป็นหน่วยงานสนับสนุน
ที่มา : https://www.energynewscenter.com/